๕ คูคลอง
ประกอบหัวใจในพระนคร
การขุดคูคลองรอบกรุง เพื่อเป็นเส้นทางคมนาคม ด้านค้าขาย และวิถีชีวิตในชุมชม
คลองรอบกรุง
๕ คลอง สู่คลองรอบกรุง
คลอง
คูเมืองเดิม
- คูคลองที่ ๑ -
คลองหลอด
วัดราชนัดดา
- คูคลองที่ ๒ -
คลองหลอด
วัดราชบพิธ
- คูคลองที่ ๓ -
คลอง
โอ่งอ่าง
- คูคลองที่ ๔ -
คลองผดุงกรุงเกษม
- คูคลองที่ ๕ -
๑. คลองคูเมืองเดิม
คลองคูเมืองเดิม เป็นคลองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเป็นคูเมืองด้านตะวันออกของกรุงธนบุรี ซึ่งล้ำไปอาณาเขตเลยมาทางด้านฝั่งพระนคร โดยโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคูเมืองเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 2 ด้าน คือ ด้านปากคลองฝั่งเหนือ บริเวณท่าช้างวังหน้า ปากคลองฝั่งใต้บรรจบแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณโรงเรียนราชินี ดินจากการขุดคลอง สร้างเป็นเชิงเทินตั้งค่ายตามแนวคลองเพื่อป้องกันข้าศึก
ประชาชนเรียกชื่อคลองนี้ตามสถานที่ที่คลองผ่าน เช่น ปากคลองด้านเหนือผ่านโรงไหมหลวง เรียก “คลองโรงไหมหลวง” ปากคลองด้านใต้เป็นตลาดที่คึกคักทั้งบนบกและในน้ำ จึงเรียก “ปากคลองตลาด” ส่วนตอนกลางระหว่างคลองหลอดวัดราชนัดดา กับคลองหลอดวัดราชบพิธ ได้มีประกาศของสุขาภิบาล ร.ศ. 127 ให้เรียกว่า “คลองหลอด” ซึ่งหมายถึงคลองที่อยู่ระหว่างคลองหลอดทั้งสอง แต่ภายหลังคนทั่วไปมักเรียกคลองนี้ตลอดสายว่า “คลองหลอด” ซึ่งผิดจากข้อเท็จจริง
คลองคูเมืองเดิม บ้างเรียก คลองหลอดเป็นคลองขุดรอบพระนครชั้นใน ของเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ เดิมเป็นคูเมืองที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ขุดเป็นคูเมืองด้านตะวันออกของกรุงธนบุรี หลังการปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงย้ายราชธานีไปยังกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ขุดคูเมืองขึ้นใหม่ ส่วนคลองคูเมืองเดิมได้กลายสภาพเป็นเส้นทางคมนาคมของประชาชนในพระนครแทน
เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี รัฐบาลจึงมีมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ให้เรียกชื่อคลองให้ถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า “คลองคูเมืองเดิม”
๒. คลองหลอดวัดราชนัดดา
คลองหลอดวัดราชนัดดาคลองหลอด เป็นคลองขุดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าหาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ขุดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2326 เมื่อครั้งย้ายเมืองหลวงจากกรุงธนบุรีมาอยู่ฝั่งพระนคร เชื่อมคลองคูเมืองเดิมออกไปบรรจบกับคลองรอบกรุง 2 คลอง เรียกกันตามลักษณะของคลองว่า “คลองหลอด”
คลองหลอดวัดราชนัดดา เริ่มจากคลองคูเมืองเดิม บริเวณโรงแรมรัตนโกสินทร์ กับวัดบุรณศิริมาตยาราม ผ่านถนนตะนาว วัดมหรรณพาราม ถนนดินสอ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร วัดราชนัดดาราม และถนนมหาไชย ไปบรรจบกับคลองรอบกรุงตรงบริเวณวัดราชนัดดาราม คลองนี้เดิมเรียกชื่อ “คลองหลอด” ไม่มีชื่อเฉพาะ แต่ต่อมาเรียกกันตามจุดที่ผ่าน เช่นเรียกว่า “คลองบุรณศิริฯ” “คลองวัดมหรรณพ์” “คลองวัดราชนัดดา” และ “คลองวัดเทพธิดา
๓. คลองหลอดวัดราชบพิธ
คลองหลอดวัดราชบพิธ เริ่มจากคลองคูเมืองเดิมตรงวัดราชบพิธ ผ่านถนนราชบพิธ ถนนดินสอ ถนนมหาไชย บรรจบคลองรอบกรุง ตอนเหนือสะพานดำรงสถิต คลองนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “คลองสะพานถ่าน” แต่เรียกเป็นทางการว่า “คลองวัดราชบพิธ”
๔. คลองโอ่งอ่าง
คลองโอ่งอ่างเป็นคลองที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯให้ขุดในการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในปี 2325 เพื่อขยายเมืองออกไปในแนวขนานกับคลองคูเมืองเดิมของกรุงธนบุรีโดยเกณฑ์แรงงานชาวกัมพูชา 10,000 คนมาขุด เริ่มจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใต้วัดสังเวช บางลำพู มาออกแม่น้ำเจ้าพระยาที่ใต้วัดเชิงเลน หรือวัดบพิตรพิมุข ขุดเชื่อมคลองบางลำพูและคลองโอ่งอ่างเข้าด้วยกัน มีความยาว 3,426 เมตร กว้าง 20 เมตร ลึก 2.5 เมตร พระราชทานนามว่า “คลองรอบกรุง”
ต่อมาเมื่อมีการออกพระราชบัญญัติรักษาคลอง พ.ศ.2484 ได้แบ่งชื่อคลองนี้ออกเป็น 2 ตอน จากปากคลองด้านเหนือจากป้อมพระสุเมรุ มาถึงปากคลองมหานาค หรือตรงป้อมมหากาฬผ่านฟ้า เรียกว่า “คลองบางลำพู” จากปากคลองมหานาคไปถึงปากคลองด้านใต้ ตรงวัดบพิตรพิมุขเรียก “คลองโอ่งอ่าง” ที่เป็นแหล่งขายเครื่องปั้นดินเผา
กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนคลองนี้ตลอดคลองเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2419 แต่เรียกว่า “คลองโอ่งอ่าง”
๕. คลองผดุงกรุงเกษม
คลองผดุงกรุงเกษม ตามประวัติดั้งเดิมระบุว่าเป็นคลองรอบพระนครชั้นนอก พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ขุดเมื่อ พ.ศ. 2394 ด้วยพระองค์ทรงพิจารณาเห็นว่าบ้านเมืองเจริญรุดหน้าขึ้น ผู้คนก็มากกว่าเมื่อเริ่มสร้างกรุง ควรขยับขยายพระนครออกไป จึงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ว่าที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กอง เจ้าหมื่นไวยวรนาถเป็นกงสีจ้างจีนขุดคลองพระนครออกไปอีกชั้นหนึ่ง โดยขุดถัดจากคลองรอบกรุงออกไปทางชานพระนคร เริ่มขุดจากปากคลองริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณวัดเทวราชกุญชร (วัดสมอแครง) ย่านเทเวศร์ มีแนวขนานไปกับคลองคูเมืองเดิม ผ่านย่านหัวลำโพง ตัดผ่านคลองมหานาคไปทะลุแม่น้ำเจ้าพระยาอีกด้านหนึ่งบริเวณวัดแก้วแจ่มฟ้า สี่พระยา คลองนี้ขุดเสร็จในปี พ.ศ. 2395 ได้รับพระราชทานชื่อว่า “คลองผดุงกรุงเกษม”
- คลองนี้ตัดผ่านคลองมหานาค บริเวณสี่แยกมหานาค ซึ่งเป็นย่านการค้าที่สำคัญ ผ่านบริเวณหัวลำโพงในปัจจุบัน ผ่านวัมหาพฤฒาราม ในสมัยที่ทำการขุดมีขนาดกว้าง 20 เมตร ลึก 3 เมตร ยาว 5.5 กิโลเมตร
ต่อมาเมื่อคลองผดุงกรุงเกษมได้กลายเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าที่สำคัญของกรุรัตนโกสินทร์ บริเวณริมคลองเป็นตลาดสินค้าประเภทต่างๆ และโรงสี มีเรือบรรทุกสินค้าเข้ามาจอดอยู่ตามริมคลองเป็นระยะ เช่น ปากคลองตอนเหนือ (บริเวณวัดเทวราชกุญชร) ลงไปถึงสะพานเทวกรรมรังรักษ์ นางเลิ้ง มีเรือค้าข้าว อิฐ ปูนขาว และกระเบื้อง จากสะพานเทวกรรมรังรักษ์ลงไปถึงสี่แยกหานาคและสะพานเจริญสวัสดิ์มีการค้าขายสินค้าหลายประเภท อาทิ ข้าว ไม้ เสา ไม้กระดาน และวัสดุทีทำด้วยปูนซิเมนต์บริเวณสี่แยกมหานาคมีเรือผลไม้มาชุมนุมซื้อขายมาก บริเวณกรมรถไฟและหน้าวัดเทพศิรินทราวาสเป็นที่พักของไม้เสา ปูนขาว และหิน ซึ่งรถไฟบรรทุกมาจากต่างจังหวัด รอการบรรทุกเรือหรือรถยนต์ไปขายยังแหล่งอื่นต่อไปจนถึงสะพานพิทยเสถียร มีสินค้าประเภทโอ่ง กระถาง ที่ผลิตในประเทศและมาจากประเทศจีน และมีโรงสี โรงน้ำแข็ง โกดังสินค้าต่างๆ ตั้งรายสองฟากคลองไป จนจรดแม่ น้ำเจ้าพระยา
ปัจจุบันริมคลองผดุงกรุงเกษมยังเป็นแหล่งชุมนุมค้าขาย เช่น บริเวณเทเวศร์และมหานาค เป็นต้น สภาพคลองโดยทั่วไปตื้นเขินน้ำเน่าเสีย เรือสามารถผ่านได้บางตอนเมื่อน้ำขึ้นเต็มที่สองข้างคลองมีคันคอนกรีต ตลอดแนว คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อ พ.ศ. 2510 ให้คลองผดุงกรุงเกษมเป็นคลองที่ต้องอนุรักษ์ไว้
กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนคลองผดุงกรุงเกษมตลอดแนวคลอง เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ โดยลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 93 ตอนที่ 68 วันที่ 29 เมษายน พุทธศักราช 2519