สถาปัตยกรรม
รอบคลองผดุงกรุงเกษม
อาคารหรือสิ่งก่อสร้าง รวมถึงสิ่งแวดล้อมที่วิจิตร สวยงามรอบคูคลอง
สถาปัตยกรรมรอบคลองผดุงกรุงเกษม
ไฮไลท์ สถาปัตยกรรมของสถานที่รอบผดุงกรุงเกษม
วังปารุสก
สถาปัตยกรรมคลาสสิก นายเปโรเลวี (BEYROLEYVI)
วันพระตำหนักสวนจิตรลดา และพระตำหนักสวนปารุสกวัน สร้างโดยใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมคลาสสิก นายเปโรเลวี (BEYROLEYVI) สถาปนิกชาวอิตาเลียนเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งพระตำหนักสวนจิตรลดา (พระตำหนักหลังเหนือ) เป็นพระตำหนัก 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน ลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบตะวันตกมีลวดลายปูนปั้นประดับอย่างวิจิตร ชั้นล่างประกอบด้วยห้องต่าง ๆ ที่สำคัญคือ ห้องโถงใหญ่ซึ่งคงใช้เป็นท้องพระโรงในสมัยก่อน มีการตกแต่งฝา ประดับด้วยไม้จำหลักลายงดงาม ส่วนชั้นบนปีกด้านใต้เป็นห้องชุดประกอบด้วยห้องบรรทม ห้องทรงพระอักษร หรือห้องรับรองแขกส่วนพระองค์ ห้องแต่งพระองค์ และห้องสรง ห้องชุดดังกล่าวมีการตกแต่งลวดลายบัวที่ฝา ฝ้าเพดาน บานประตูและกรอบประตูอย่างงดงาม
พระตำหนักสวนปารุสกวัน (พระตำหนักหลังใต้) เดิมเป็นตึก 2 ชั้น ก่ออิฐฉาบปูน ลักษณะเป็นตำหนักแบบตะวันตก ต่อมาได้ต่อเติมเป็น 3 ชั้น โดยชั้นที่สามเป็นห้องชุด ประกอบด้วยห้องบรรทม ห้องแต่งพระองค์ และห้องสรง ห้องพระและห้องพระบรมอัฐิ ส่วนชั้นที่สองเป็นห้องพระชายา ลักษณะเป็นห้องชุดประกอบด้วย ห้องนอน ห้องแต่งตัว ห้องน้ำ และห้องนั่งเล่นส่วนตัวของพระชายา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเฉลียงกั้นเป็นห้องทรงพระอักษรของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ชั้นล่างเป็นห้องรับแขกและห้องพักผ่อน ประกอบด้วยห้องโถงใหญ่ใช้เป็นท้องพระโรง ห้องรับแขกส่วนพระองค์ และของพระชายา ห้องเสวย มีเฉลียงใหญ่สำหรับพักผ่อนและเล่นกีฬาในร่ม และยังมีห้องชุดสำหรับรับแขกด้ว
พระตำหนักทั้งสองมีมุขเทียบรถ ที่เป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมยุคนั้น เนื่องจากเริ่มมีการใช้รถเป็นพาหนะแล้ว ซุ้มพระแกลชั้นบน เน้นด้วยลายปูนปั้นแบบตะวันตก ชั้นล่างเน้นด้วยลายรูปโค้ง ลวดลายคล้ายกับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต สันนิษฐานว่าสร้างในเวลาใกล้เคียงกัน บานพระแกลไม่ได้เป็นกระจกแต่เป็นบานเกล็ดไม้ ตอนล่างเปิดเป็นบานกระทุ้งได้ ตอนบนเป็นช่องแสงไม้ฉลุลายทุกบาน
เดิมทีเสาหลักเมือง มีเพียงศาลาปลูกไว้กลางแดดกันฝนเท่านั้น จนชำรุดลงอย่างมากในสมัยรัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าฯให้ทำขึ้นใหม่อีกเสาหนึ่ง ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานครมีเสาหลักเมือง 2 ต้น นับจากนั้นเป็นต้นมาสำหรับศาลาศาลหลักเมืองหลังปัจจุบันนี้ มีรูปแบบเป็นอาคารเครื่องปูน ทรงยอดปรางค์ มีมุขยื่นทั้ง 4 ด้าน แต่ละด้านมีหลังคาซ้อน 2 ชั้น และมีมุขลดอีกด้านละ 1 ชั้น มีหลังคากันสาดโดยรอบ เครื่องมุงประดับกระเบื้องเคลือบ ตามลักษณะสถาปัตยกรรมอยุธยาในอดีต ได้รับการออกแบบโดย พล.อ.ต. อาวุธ เงินชูกลิ่น (ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะสถาปัตยกรรม ในเวลาต่อมา) พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชวินิจฉัยในงานออกแบบครั้งนี้ด้วย