Site Overlay

สะพาน

ณ คลองหลอดวัดราชนัดดา

สะพานข้ามคูคลอง อยู่ท่ามกลางสถาปัตยกรรมสวยงาม แฝงไปด้วยเรื่องราวที่น่าดึงดูดใจ

ถ่ายรูปสุดเก๋ ณ สะพาน บริเวณคลองหลอดวัดราชนัดดา

มีสะพาน ณ บริเวณ คลองหลอดวัดราชนัดดา ทั้งหมด 2 ที่

สะพานมหาดไทยอุทิศ

สะพานร้องไห้ มีอายุมากกว่า 100 ปี เป็นมรดกอันล้ำค่า ณ ช่วงเวลาความอาลัย

จากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงหมายมั่นมีพระราชประสงค์จะสร้างสะพานเชื่อมถนนฝั่งวัดสระเกศราชวรมหาวิหารกับถนนฝั่งราชดำเนิน เพื่อเป็นเส้นทางให้ประชาชนได้สัญจรไปมาอย่างสะดวก แต่สวรรคตเสียก่อน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงร่วมกับกระทรวงมหาดไทยสร้างสะพานจนสำเร็จ เป็นสะพานคอนกรีตที่มีกลิ่นอายสถาปัตยกรรมตะวันตกชัดเจน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ 5ที่มาที่ไปของฉายาสะพานร้องไห้มาจากปูนปั้นกลางสะพานซึ่งเป็นประติมากรรมนูนต่ำรูปชายยืนจับไหล่เด็กและหญิงอุ้มเด็กด้วยท่าทางเศร้าหมอง ขณะที่ด้านบนมีสัญลักษณ์ประจำรัชกาลที่ 5 ประดับอยู่ เพื่อสื่อถึงความโศกเศร้าของประชาชนที่เคารพและอาลัยแด่กษัตริย์ผู้จากไปผ่านประติมากรรมนี้  สะพานนี้มีอายุมากกว่า 100 ปี เป็นมรดกอันล้ำค่าที่ผ่านการบูรณะ ซ่อมแซม ปรับปรุง อยู่หลายครั้งตามโครงสร้างเดิม ที่เด่นชัดคือการปั้นกางเกงในเด็กชายขึ้นใหม่ หากผ่านไปย่านผ่านฟ้า ป้อมมหากาฬ ก็ลองไปเดินสังเกตความเปลี่ยนแปลงได้

ที่อยู่ :

ข้ามคลองมหานาค ถนนบริพัตร แขวงคลองมหานาค

สะพานผ่านฟ้าลีลาศ

สะพานผสมผสานศิลปะไทยให้เข้ากับยุโรป

เดิมสะพานมีเพียงโครงเหล็ก แต่เมื่อเริ่มสร้างถนนราชดำเนินขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้เกิดสะพานเชื่อมต่อถนนราชดำเนินในกับราชดำเนินนอกขึ้นเช่นกัน เป็นสะพานระยะสั้นที่อยู่ใกล้หนึ่งในกำแพงเมืองที่หลงเหลืออยู่อย่างป้อมมหากาฬสะพานที่ผสมผสานทั้งเหล็กและหินอ่อนเข้าไว้ด้วยกัน รวมถึงผสมผสานศิลปะไทยให้เข้ากับยุโรป โดยมีเชิงสะพานเป็นเสาหินอ่อนสูงประดับรูปหัวแกะไว้ แถมที่ตัวเสายังมีสีดำของสำริดเป็นลวดลายเรือไวกิ้งสุดประณีตอยู่ด้วย หัวเสาเป็นสำริดรูปหล่อพวงมาลา พื้นของสะพานจะเป็นหินอ่อนโค้งลาดลงสู่ถนนซึ่งต่างจากที่อื่นๆ ที่มักเป็นคอนกรีตเสียมากกว่า ส่วนราวสะพานนั้นกลับเป็นลูกกรงที่สลักลวดลายดอกทานตะวันและใบไม้เพราะเป็นสะพานที่ใช้มีการสัญจรผ่านไปมา และเป็นทางแยกตัดผ่านของถนนหลายสาย จึงถูกปรับขยายผิวสะพานให้กว้างขึ้นอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ยังคงความงามของศิลปกรรมสมัยโบราณไว้ได้ไม่น้อยเลยทีเดียว


ที่อยู่ :

ใกล้ป้อมมหากาฬ แขวงวัดบวรนิเวศ

Scroll Up
Translate »