Site Overlay

สะพาน

ณ คลองผดุงกรุงเกษม

สะพานข้ามคูคลอง อยู่ท่ามกลางสถาปัตยกรรมสวยงาม แฝงไปด้วยเรื่องราวที่น่าดึงดูดใจ

ถ่ายรูปสุดเก๋ ณ สะพาน บริเวณคลองผดุงกรุงเกษม

มีสะพาน ณ บริเวณคลองผดุงกรุงเกษม ทั้งหมด 7 ที่

สะพานเทเวศรนฤมิตร

เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่ถนนสามเสนแขวงวชิระเขตดุสิตพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา-จุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ พระราชทานนามว่า “สะพานเทเวศรนฤมิตร” เดิมเป็นราวสะพานเหล็กหล่อ ในพ.ศ. ๒๔๘๒ ปรับปรุงเป็นสะพานคอนกรีต ปัจจุบันได้รับการปรับปรุงขยายผิวจราจรเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ ลักษณะเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก มีราวพนักสะพานเป็นคอนกรีตทึบทั้งสองข้าง ตรงกึ่งกลางสะพานมีจารึกนามสะพานและ พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งเป็นปีที่บูรณะ สองข้างจารึกทำเป็นเสาหัวเม็ดปลายราวสะพานทั้ง ๔ มุมมีแท่นตั้งเสาไฟโลหะมุมละ ๑ อัน

ที่อยู่ :

สะพานเทเวศรนฤมิตร

สะพานวิศุกรรมนฤมาน

เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม เชื่อมถนน ราชสีมาและถนนประชาธิปไตย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๕ พระราชทานนามว่า “สะพานวิศุกรรมนฤมาน” เดิมเป็นสะพานโครงเหล็กพื้นไม้ มีราวสะพานเป็นลูกกรงเหล็กหล่อ ในพุทธศักราช ๒๕๑๐ ได้รับการปรับปรุงใหม่เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ลักษณะราวสะพานทำเป็นลูกกรงคอนกรีตโปร่ง มีลักษณะโค้งออกด้านข้าง ตรงเชิงลาดมีบันไดขึ้นเตี้ยๆ จากทางเท้าลงสู่ทางเท้าริมถนน กึ่งกลางราวสะพานเป็นแผ่นจารึกนามสะพานซึ่งสะกดต่างจากนามพระราชทาน เป็น “วิศสุกรรมนฤมาน” และบอกปีการบูรณะพุทธศักราช ๒๕๑๐ สองข้างจารึกเป็นเสาไฟโลหะแบบใหม่

ที่อยู่ : 

สะพานวิศุกรรมนฤมาน   

สะพานมัฆวานรังสรรค์

เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม เชื่อมถนน ราชดำเนินกลางและถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตพระนคร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๓ ลักษณะ ตัวสะพานเป็นตัวคอนกรีตเสริมเหล็ก ราวสะพานสองข้างเป็นเหล็กหล่อที่มีลวดลายละเอียดงดงามมาก กึ่งกลางราวสะพานด้านนอกมีแผ่นโลหะกลมหล่อเป็นรูปช้างเอราวัณ ๓ เศียร ซึ่งเป็นเทพพาหนะของท้าวมัฆวาน เหนือแผ่นโลหะนี้เป็นเสาโคมไฟโลหะขนาดเล็ก ปลายสุดของราวสะพานทั้งสองฝั่งเป็นเสาหินอ่อน มีโคมไฟโลหะอยู่บนยอด ที่บริเวณหัวเสาประดับด้วยลายเฟื่องอุบะโลหะ เครื่องประดับบางชิ้นเป็นโลหะกะไหล่ทอง มีจารึกนามสะพานอยู่ที่กลางเสาหินอ่อน ปลายสะพานทั้งสี่ต้นนี้ ถัดจากเสานี้ไปเป็นพนักเชิงลาดของสะพานซึ่งประดับด้วยหินอ่อน ที่คานด้านข้างสะพานทั้งสองข้าง มีลวดลายประดับเช่นกัน

 

ที่อยู่ : 

สะพานมัฆวานรังสรรค์

สะพานเทวกรรมรังรักษ์

เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่ถนนนครสวรรค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระ-จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๔๒ เพื่อเชื่อมถนนตลาดและถนนปลายตลาด ลักษณะราวสะพานเป็นลูกกรงคอนกรีต ที่ปลายราวสะพานทั้งสี่มุมทำเป็นเสาหัวเม็ดคู่แบบไทย ระหว่างเสาใช้เป็นฐานรองรับโคมไฟโลหะ และที่ฐานเสามีจารึกประวัติการสร้างและบูรณะที่ปลายสะพานด้านหนึ่ง ส่วนอีกด้านหนึ่งจารึกนามสะพาน

ที่อยู่ : 

สะพานเทวกรรมรังรักษ์

สะพานจตุรภักตร์
รังสฤษดิ์

หรือ “สะพานขาว” เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษมที่ถนนหลานหลวง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสร้างประมาณ พ.ศ. ๒๔๔๖ พระราชทานนามว่า “สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์”ต่อมากรมโยธาเทศบาลได้ปรับปรุงสร้างใหม่เป็น ๓ สะพานขนานกันเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๖ ลักษณะเป็นสะพานคอนกรีต มีราวสะพานสองข้างเป็นลูกกรงคอนกรีตแบบเรียบมีแผ่นจารึกนามสะพาน พุทธศักราชที่บูรณะที่กึ่งกลางสะพาน แต่ตัดนามสะพานเหลือเพียง “สะพานจตุรพักตร์” ซึ่งผิดไปจากนามที่ได้พระราชทาน ต่อมาได้รับการบูรณะ อีกครั้งและเปลี่ยนป้ายจารึกนามสะพานใหม่ให้ถูกต้องตามนามพระราชทาน พร้อมกับปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ซึ่งเป็นปีที่สร้างดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ที่ปลายราวสะพานทั้งสี่มุมมีเสาไฟคอนกรีตมุมละ ๑ ต้น

 

ที่อยู่ : 

สะพานจตุรภักตร์รังสฤษดิ์

สะพานพิทยเสถียร

เป็นสะพานข้ามคลองผดุงกรุงเกษม ที่ถนนเจริญกรุง สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นสะพานโครงเหล็กคู่กับสะพานดำรงสถิต เรียกว่าสะพานเหล็กล่างมีล้อและรางเหล็กสำหรับเปิดสะพานให้แยกออกจากกันได้ ในสมัยรัชกาลที่๕ได้โปรดให้สร้างใหม่ในปี พ.ศ. ๒๔๔๒ เป็นสะพานโครงเหล็กเปิดปิดได้พระราชทานนามว่าสะพานพิทย ต่อมาในสมัยรัชการที่ ๖ โปรดให้ปรับปรุงสะพานใหม่เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะเป็นศิลปกรรมแบบยุโรป มีคานล่างเป็นรูปโค้ง เสาลูกกรง และเสาโคมไฟฟ้าทั้ง ๘ ต้นมีลวดลายตกแต่งที่ปลายสะพานมีลายหัวสิงห์

ที่อยู่ : 

สะพานพิทยเสถียร

สะพานกษัตริย์ศึก

สะพานกษัตริย์ศึก หรือ สะพานยศเส สร้างในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ลักษณะตัวสะพานเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีบาทวิถีสองข้าง ข้ามทางรถไฟและลาดไปทางด้านตะวันออกของทางรถไฟตามถนนพระราม ๑ไปบรรจบกับพื้นราบตามเดิม ที่เชิงสะพานด้านตะวันออกมีทางลาดเลี้ยวลงไปตามถนนรองเมือง เพื่อเชื่อมกับการคมนาคมระหว่างถนนพระรามที่ ๑ และถนนรองเมือง ด้านตะวันตกลาดลงไปบรรจบเขื่อนสะพานช่วงที่ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมสะพานเจริญสวัสดิ์ ข้ามคลองผดุงกรุงเกษมบริเวณหน้าสถานีรถไฟหัวลำโพง สร้างขึ้นแทนที่สะพานสุประดิษฐ์ ซึ่งชำรุดทรุดโทรม และเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสะพานเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ.2459

ที่อยู่ : 

สะพานกษัตริย์ศึก 

Scroll Up
Translate »