Site Overlay

พิพิธภัณฑ์

รอบคลองคูเมืองเดิม

สัมผัสศิลปะ วัฒนธรรมไทย ผ่านการชมพิพิภัณฑ์ รอบคลองคูเมืองเดิม

สัมผัสเสน่ห์ศิลปะ วัฒนธรรม

5 พิพิธภัณฑ์ 2 สถานที่ ณ คลองคูเมืองเดิม

เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์รอบคลองคูเมืองเดิม

มีพิพิธภัณฑ์รอบคลองคูเมืองเดิม ทั้งหมด 5 แห่ง
หากต้องการขยายภาพ คลิกปุ่มแว่นขยายบนรูปภาพในแกลลอรี่ หรือหากต้องการเข้าชมเว็บไซต์ คลิกปุ่มลูกโซ่บนรูปภาพในแกลลอรี่
สามารถชมรายละเอียด ด้านล่างนี้

1. พิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม

มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ภายใต้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ แห่งชาติ (สพร.)

เป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งแรกที่เน้น การสร้างประสบการณ์สดใหม่ในการชมพิพิธภัณฑ์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นต้นแบบของ แหล่งเรียนรู้ที่น่ารื่นรมย์ และช่วยยกระดับมาตรฐานการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ ให้กับประชาชน โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนไทยเกี่ยวกับการสร้างสำนึกในการรู้จัก ตนเอง รู้จักเพื่อนบ้าน และรู้จักโลก รวมถึงการสร้าง “แนวคิดและภาพลักษณ์ใหม่” ของพิพิธภัณฑ์ในสังคมแห่งการเรียนรู้ ผ่านเทคโนโลยีสมัยใหม่ และกิจกรรมสร้างสรรค์ เพื่อให้การเรียนรู้ประวัติศาสตร์และเรื่องราวต่างๆ เป็นไปอย่างสนุกสนานยิ่งขึ้น

โดยนิทรรศการจะพาไปค้นหาความหมายที่แท้จริงของความเป็นไทย ผ่านการเล่าเรื่องราวความเป็นไทยในมิติต่างๆ อาทิ ประวัติศาสตร์ สถาปัตยกรรม วัฒนธรรมประเพณี อาหารการกิน การแต่งกาย เป็นต้น และพัฒนาการของความเป็นไทยที่เปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม ตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบัน
รูปเเบบใช้วิธีการเล่าเรื่องผ่านสื่อพิพิธภัณฑ์ที่มีความปัจจุบันทันสมัย ใกล้ตัว และสามารถพบเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน ชวนให้นำไปคิดต่อยอด ย้อนผูกกับเรื่องราวในอดีต ตลอดจนรูปแบบของการนำเสนอที่เน้นการสร้างปฏิสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้เข้าชมสามารถนำตัวเองเข้าไปมีส่วนร่วมกับนิทรรศการได้ ซึ่งจะทำให้เข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น เปิดประสบการณ์การเที่ยวพิพิธภัณฑ์รูปแบบใหม่ ที่ได้ความรู้คู่ความสนุก ตลอดจนการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการเล่าเรื่องให้ผู้ชมสามารถเข้าใจและติดตามเรื่องราวได้ง่ายมากขึ้น” ผอ.มิวเซียมสยาม กล่าว

โทรศัพท์: 02 225 2777

2. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ หรือ หอศิลป์เจ้าฟ้า

มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ภายใต้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ แห่งชาติ (สพร.)

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ หรือ หอศิลป์เจ้าฟ้า เป็นหอศิลป์และเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของประเทศไทย ตั้งอยู่ข้างสะพานพระปิ่นเกล้า ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารที่เดิมเคยเป็นโรงกษาปณ์ ออกแบบโดยนายคาร์โล อัลเลกรี (Carlo Allegri) สถาปนิกชาวอิตาลี วัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสถานที่เก็บรวบรวม และจัดแสดงผลงานศิลปะประเภททัศนศิลป์ ตลอดจนเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับศิลปะไทยประเพณีและร่วมสมัย

โทรศัพท์ : (02) 282-2639-40 ต่อ 14
แฟกซ์ ต่อ 18

3. พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ พระนคร

พิพิธภัณฑ์เชิงประวัติศาสตร์

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุต่างๆ มากมาย อันเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทย และชาติเพื่อนบ้าน  นับเป็นพิพิธภัณฑสถานสำหรับประชาชนแห่งแรกของประเทศไทยสร้างขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2402 จัดแสดงข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ โบราณคดี และชาติพันธุ์วิทยา ปัจจุบันแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ ได้แก่ 

ส่วนแรกเป็นส่วนของประวัติศาสตร์ชาติไทย จัดแสดงเกี่ยวกับเรื่องราวความเป็นมาของชนชาติไทยและประวัติศาสตร์ชาติไทยโดยสังเขป โดยจัดแสดง ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน

ส่วนที่สองคือส่วน ประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี เป็นการจัดแสดงวิวัฒนาการของศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทยลำดับตามยุคสมัย โดยจัดแสดงที่อาคารมหาสุรสิงหนาทและอาคารประพาสพิพิธภัณฑ์ 

ต่อมาคือส่วน ประณีตศิลป์และชาติพันธุ์วิทยา จัดแสดงโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ อันเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นอย่างประณีต หรือเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันแต่โบราณ เช่น เครื่องเงิน เครื่องทอง เครื่องถม เครื่องมุก เครื่องดนตรี เครื่องไม้จำหลัก เครื่องประกอบการเล่นมหรสพต่างๆ เครื่องแต่งกายและผ้าโบราณ เครื่องถ้วย อาวุธโบราณ ราชยานคานหาม ราชรถและเครื่องประกอบการพระราชพิธีพระบรมศพ เป็นต้น โดยจัดแสดงที่อาคารหมู่พระวิมาน และโรงราชรถ ด้านหน้าโรงราชรถพระมหาพิชัยราชรถ ศิลปะรัตนโกสินทร์

ส่วนสุดท้ายเป็นอาคารโบราณสถาน จัดแสดงอาคารหมู่พระที่นั่งในพระราชวังบวรสถานมงคลมาแต่เดิม รวมทั้งอาคารที่เคลื่อนย้ายมาจากพระราชวังต่าง ๆ เช่น พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ตำหนักแดง พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ ศาลาสำราญมุขมาตย์ พระที่นั่งปาฏิหาริย์ทัศไนย ศาลาลงสรง เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีโบราณวัตถุที่สำคัญมากมาย เช่น พระพุทธสิหิงค์, พระชัย, พระพุทธรูปโปรดมหิศรเทพบุตร, พระพุทธรูปประทับรอยพระพุทธบาท เป็นต้น สถานที่สำคัญที่แห่งหนึ่งคือ “หอแก้วศาลพระภูมิพระราชวังบวรสถานมงคล” ที่สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สร้างขึ้นเป็นที่สถิตของพระภูมิเจ้าที่ ซึ่งเชื่อว่าเป็นเจ้าของผืนแผ่นดินที่สร้างวัง ปัจจุบันนับถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งประจำกรมศิลปากร

โทรศัพท์ : 022241333

 

4. พิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

พิพิธภัณฑ์เชิงประวัติศาสตร์

ศิลปวัฒนธรรมพิพิธภัณฑ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม นี้สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นอาคารที่มีรูปแบบตะวันตก สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นโรงกษาปณ์ ผลิตเงินตราใช้ในประเทศต่อมาเมื่อมีงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 200 ปี เมื่อ พ.ศ.2525 ได้มีการบูรณะปฎิสังขรณ์ วัดพระศรีรัตนศาสดารามทั้งพระอาราม สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งทรงเป็นแม่กองอำนวยการบูรณะ จึงได้ขอพระราชทานอาคารโรงกษาปณ์แห่งนี้ มาจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ แสดงศิลปวัตถุต่างๆ ที่พระมหากษัตริย์และประชาชนได้ถวาย ให้แก่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่ออนุชนรุ่นหลังได้ชื่นชมต่อไป

การจัดแสดงแบ่งเป็น ชั้นล่าง จัดแสดงโบราณวัตถุที่เกี่ยวข้องกับพระบรมมหาราชวัง อาทิ ชิ้นส่วนเครื่องตกแต่งสถาปัตยกรรมไทย พระพุทธรูป และรูปจำหลักหินที่เคยประดับสวนรอบพระอุโบสถ เช่น เจ้าเงาะกับนางรจนาจากเรื่องสังข์ทอง มโนราห์และพระสุธนจากเรื่องมโนราห์ สุพรรณมัจฉาและหนุมานจากเรื่องรามเกียรติ์ เป็นต้น รูปจำหลักทั้งหมดนี้ทำขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้ย้ายมาจัดแสดงในอาคารแห่งนี้เพื่อป้องกันความเสียหายจากดินฟ้าอากาศนอกจากนี้ยังจัดแสดงกระดูกช้างเผือก สัตว์คู่พระบารมีขององค์พระมหากษัตริย์ไทย และปืนใหญ่โบราณที่เคยตั้งอยู่ตามป้อมรอบพระบรมมหาราชวังมาด้วยชั้นบน บริเวณมุขด้านหน้าจัดแสดงหุ่นจำลองของพระบรมมหาราชวัง ซึ่งมีอยู่ 2 แบบ

แบบที่ 1 แสดงอาคารจำลองในสมัยรัชกาลที่ 1
แบบที 2 แสดงอาคารจำลองในรัชกาล

ปัจจุบันด้านหลังจัดแสดงพระพุทธรูปปางต่างๆ  เหรียญพระแก้วมรกตที่สร้างขึ้นเมื่อบูรณะวัดในงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปีข้างบันไดทางขึ้นไปจัดแสดงพระแท่นขนาดเตี้ยประดับมุกเรียกว่า  พระแท่นทรงสบาย  ซึ่งนำมาจากพระที่นั่งพิมานรัตยา เคยใช้เป็นที่ประทับทรงสบายและบางครั้งให้ขุนนางเฝ้าอย่างไม่เป็นทางการ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1ห้องโถงกลางจัดแสดงพระแท่นมนังคศิลาอาสน์  ที่ประทับของพ่อขุนรามคำแหง ซึ่งรัชกาลที่ 4 ทรงอัญเชิญมาจากสุโขทัย ระหว่างทรงผนวชผนังทั้งสองด้าน จัดแสดงพระพุทธรูปจำหลักหินภูเขาไฟแบบชวาปางต่างๆ 4 องค์ ซึ่งรัชกาลที่ 5 ทรงอัญเชิญมาจากพุทธสถานบนเกาะชวา สองข้างของโถงกลาง แบ่งเป็น 4 ห้อง

ห้องที่ 1 เป็นห้องเก็บเครื่องทรง 3 ฤดู ของพระแก้วมรกตกับพระพุทธ   
รูปสำคัญ อีกทั้งเครื่องเงินเครื่องทอง เชี่ยนหมากยอดทองคำ เป็นต้น
ห้องที่ 2 แสดงฉากขนาดใหญ่เป็นลายรดน้ำรูปพระราชพิธีอินทราภิเษก ซึ่งเคยตั้งอยู่ในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระฉากนี้นับเป็นงานประณีตศิลป์ฝีมือยอดเยี่ยมที่สุดชิ้นหนึ่งแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ห้องที่ 3 จัดแสดงเครื่องแก้วเจียระไนและเครื่องถม ที่สร้างขึ้นเพื่อ ถวายแด่พระแก้วมรกต
ห้องที่ 4 แสดงพระพุทธรูปขนาดเล็กทำด้วยหินน้ำค้าง มีเครื่องประดับพระเศียร พระพุทธรูปงาและพระพุทธรูปสำริดที่ประชาชนทูลเกล้าฯ ถวายเป็นพุทธบูชา

โทรศัพท์: 02 623 5500

5. พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ

ปืนใหญ่ได้รับฉายาว่าเป็น “ราชาแห่งสนามรบ”

ในปี พ.ศ.๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรีได้นำปืนใหญ่โบราณที่เก็บรักษาในพระบรมมหาราชวังและวังหน้า ไปประดิษฐานที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหม เพื่อจัดแสดงให้สาธารณะชนได้ชมตามแบบชาติมหาอำนาจทางทิศตะวันตก และเป็นไปตามพระราชนิยม ของพระองค์ท่าน ครั้งศึกษาวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อยเซนเฮิร์ท ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้จัดวางปืนใหญ่โบราณไว้ ๔ กระบอก หน้าอาคารกองบังคับการโรงเรียน ฯ นับตั้งแต่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ทรงนำหมู่ปืนใหญ่โบราณ ไปประดิษฐานที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหมจนถึงปัจจุบันได้ครบรอบ ๑๐๑ ปี ในปี พ.ศ.๒๕๖๑ และนับเป็นพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งแห่งแรกของประเทศไทย ปัจจุบัน หมู่ปืนใหญ่โบราณหน้าศาลาว่าการกลาโหม มีการจัดวางในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง รวมจำนวน ๔๐ กระบอก โดยมีชื่อภาษาไทยรวม ๓๗ กระบอก มีชื่อภาษาอังกฤษ ๑ กระบอกคือ SMICVEL 1625 และไม่มีชื่ออีก ๒ กระบอก เพียงแต่ระบุ เฉพาะหมายเลขปืนและปีที่สร้าง คือ P.1009 และ P.1010 1860 ปืนใหญ่ได้รับฉายาว่าเป็น “ราชาแห่งสนามรบ” เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการทำลายล้างสูงและยิงได้ระยะไกล ใช้บุกโจมตีศัตรูในยามศึกสงคราม ตลอดจนป้องกันพระนครในยามสงบโดยนำมาวางไว้ตามเชิงเทินบนป้อมปราการ สำหรับประเทศไทยคาดว่ามีปืนใหญ่ใช้มาตั้งแต่สมัยสุโขทัยตอนปลายหรืออยุธยาตอนต้น กระบอกที่เก่าที่สุดปัจจุบันจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร

โทรศัพท์:0-2225-8262, 0-2226-8262

เที่ยวชมสถานที่ศิลปะ วัฒนธรรม รอบคลองคูเมืองเดิม

มีสถานที่สำหรับแสดงศิลปะ วัฒนธรรม ทั้งหมด 2 แห่ง
หากต้องการขยายภาพ คลิกปุ่มแว่นขยายบนรูปภาพในแกลลอรี่ หรือหากต้องการเข้าชมเว็บไซต์ คลิกปุ่มลูกโซ่บนรูปภาพในแกลลอรี่
สามารถชมรายละเอียด ด้านล่างนี้

1. โรงละครและหอศิลป์วังหน้า

โรงละครจัดตั้งโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม

โรงละคร จัดตั้งโดยสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นโรงละครขนาด 250 ที่นั่งจัดแสดงด้านนาฏศิลป์ และดุริยางคศิลป์ที่สวยงาม หาชมได้ยาก และน่าสนใจในรูปแบบต่างๆ ผสมผสานแสง สี เสียงและเนื้อเรื่องที่น่าสนใจ ไม่น่าเบื่อ อาทิ การแสดงวงดุริยางค์ไทย การบรรเลงวงปี่พาทย์ การบรรเลงวงเครื่องสาย การบรรเลงวงมโหรีเครื่องดนตรี 4 ภาคการแสดงในราชสำนักแนวอนุรักษ์ เช่น โขนรามเกียรติ์ชุดยกรบ ชุดนางสุพรรณมัจฉา ชุดพระรามตามกว้างการแสดงละครการแสดงนาฏศิลป์สร้างสรรค์ เช่น การแสดงรูปแบบนาฏศิลป์สี่ภาค ซึ่งแสดงให้เห็นวิถีชีวิต ประเพณีต่าง ๆ เป็นการผสมผสานนาฏศิลป์ไทย นาฏศิลป์สากล ดนตรีไทย ดนตรีสากล ทั้งหมดนี้กำกับการแสดงโดย ดร.ศุภชัยจันทร์สุวรรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สำหรับนักแสดงเป็นคณาจารย์และนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งนักศึกษาจะมีรายได้จากการแสดงและยังได้ฝึกประสบการณ์จากเวทีการแสดงจริงอีกด้วยหลังจากชมการแสดงด้านนาฏศิลป์และดุริยางคศิลป์นักท่องเที่ยวยังสามารถเดิน

ชมผลงานศิลปะได้ที่หอศิลป์วังหน้า จัดแสดงนิทรรศการและผลงานศิลปกรรมของศิลปินไทยและต่างประเทศ โดยจะมีนิทรรศการประจำและหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดปี ได้รับการบรรจุเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งในปฏิทินของการท่องเที่ยวในเมืองหลวง ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) อีกด้วยโรงละครวังหน้าและหอศิลป์วังหน้าตั้งอยู่เลขที่ 2 ถ.ราชินีแขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพฯ ผู้ที่สนใจเข้าชมสามารถสอบถามการจำหน่ายบัตรได้ที่

โทร.0-2224-4704 ต่อ408 หรือ bpi@hotmail.co.th

2. หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ ภายใต้ สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ แห่งชาติ (สพร.)

หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร ตั้งอยู่ที่วังท่าพระ เป็นสถาบันเพื่อการ ส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปะร่วมสมัย ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ 2522 และได้ใช้กลุ่มอาคาร อนุรักษ์ในบริเวณ  วังท่าพระ  เป็นสถานที่ทำการ  วังท่าพระเดิมคือ  วังตะวันตก ในถนนหน้าพระลาน ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสร้าง

และพระราชทานให้แก่ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอเจ้าฟ้า กรมขุนกษัตรานุชิต เป็นที่ประทับในสมัยพระบาท สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทาน วังท่าพระ ให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรม พระยานริศรานุวัดติวงศ์ และ ทรงโปรดให้ซ่อมแซม และก่อสร้างเป็นรูปแบบดังที่ปรากฏในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนท้องพระโรง – ตำหนักกลาง และตำหนักพรรณราย มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ปรับปรุงเป็นห้องแสดงนิทรรศการและสำนักงานเมื่อก่อตั้งหอศิลป์ขึ้น

หอศิลป์ได้ดำเนินการ จัดนิทรรศการศิลปะ อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด ได้แก่ การแสดงศิลปกรรมแห่ง ชาติ การแสดงศิลปกรรมร่วมสมัยของศิลปินรุ่นเยาว์  การแสดงศิลปะเครื่องปั้นดินเผาแห่งชาติ ซึ่งเป็นการ แสดงศิลปะที่มีความสำคัญ และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เช่นเดียวกับ การจัดแสดงผลงานของคณาจารย์ ตลอดจนผลงานวิทยานิพนธ์ และศิลปนิพนธ์ของ นักศึกษาคณะวิชาทางศิลปะและการออกแบบนอกจากนั้นหอศิลป์ยังร่วมมือกับศิลปินไทย และศิลปินต่างประเทศ ซึ่งได้รับการสนับสนุน จาก สถานเอกอัครราชทูตต่างประเทศ และภาคเอกชน จัดแสดงนิทรรศการประเภทต่างๆ อีกด้วย นอกเหนือ จากการจัด

นิทรรศการแล้ว หอศิลป์ยังทำกิจกรรม ด้านการเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปะร่วมสมัย ได้แก่ การอบรมศิลปะ การผลิตหนังสือ สิ่งพิมพ์ และ CD-ROM ทางศิลปะและวัฒนธรรม การวิจัย และศูนย์ ข้อมูลทางด้านศิลป์

โทรศัพท์ 022-13841 
โทรสาร 022-213841 

Scroll Up
Translate »