ป้อมปรากาฬ
ณ คลองโอ่งอ่าง
สัมผัสกับเสน่ห์ป้อมปรากาฬ ที่ทำให้ย้อน รำลึกถึงการก่อตั้งพระนคร
มาถ่ายรูปกับป้อมปรากาฬ
ณ คลองโอ่งอ่าง
กำแพงเมืองพระนครสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ โดยนำอิฐที่จากกำแพงกรุงศรีอยุธยามาสร้างรวมความยาวทั้งหมดประมาณ ๗ กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ มีประตูใหญ่ ๑๖ ประตู ประตูเล็กหรือช่องกุด ๔๗ ประตู และมีป้อมปราการ ๑๔ ป้อมกำแพงและประตูพระนครของกรุงเทพมหานครฯ ตั้งอยู่ในเขตพระนคร ปัจจุบันหลงเหลืออยู่ ๒ แห่ง ก็คือ ป้อมพระสุเมรุบริเวณกำแพงเมืองและประตูเมืองด้านทิศเหนือและบริเวณป้อมมหากาฬ ส่วนกำแพงเมืองทางด้านป้อมมหากาฬนั้น ได้ถูกรื้อถอนออกเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนนและที่อยู่อาศัยจะเหลือให้เห็นเพียงระยะประมาณ ๑๐๐ เมตร ติดต่อกับตัวป้อมมหากาฬ ด้านหลังกำแพงมีชุมชนแออัดอาศัยอยู่ ในปัจจุบันมีแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็นสวนสาธารณะ ซึ่งอาจจะต้องย้ายชุมชนหรืออาจจะแบ่งกลุ่มให้ชาวชุมชนเป็นผู้ดูแล
ระบบป้อมปราการ หรือ ป้อมปราการ คือสิ่งก่อสร้างทางยุทธศาสตร์หรือตึกที่ออกแบบเพื่อการป้องกันตนเองในยามสงครามหรือใช้เป็นที่มั่นป้อมปราการที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ป้อมปรากาฬในบริเวณ คลองโอ่งอ่าง
1. ป้อมพระสุเมรุ
ป้อมมหากาฬสร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ในปี พ.ศ. ๒๓๒๖ ตั้งอยู่บริเวณเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศติดกับถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานครฯ ทางด้านหลังมีกำแพงเมืองพระนครหลงเหลืออยู่ ป้อมมหากาฬสร้างขึ้นเพื่อป้องกันรักษาพระนคร มีลักษณะรูปแปดเหลี่ยมมีกำแพงล้อมรอบ ๒ ชั้น เป็นป้อมประจำพระนครด้านตะวันออก ปัจจุบันป้อมมหากาฬเป็น ๑ ใน ๒ ป้อมที่ยังคงเหลืออยู่ในกรุงเทพมหานครที่ตั้งด้านหนึ่งของป้อมเป็นที่อยู่ของชุมชนที่มีชื่อเสียงด้านลิเกโบราณ ผู้ที่ศึกษาด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งชาวไทยและต่างประเทศมักจะมาสำรวจ และทำวิจัยเรื่องการมีส่วนร่วมฯ ณ ชุมชนแห่งนี้ โดยมีประวัติการชุมนุมและต่อสู้มายาวนานกว่าสองทศวรรษลักษณะทางสถาปัตยกรรมกำแพงและประตูเมืองหน้าวัดบวรนิเวศน์วิหาร ก่อด้วยอิฐถือปูน ประตูมีลักษณะเป็นประตูเหลี่ยม มีช่องประตูรูปโค้ง ส่วนบนของประตูเป็นลูกกรงปูนปั้น สองข้างช่องประตูมีลายเส้นนูนเป็นกรอบสี่เหลี่ยม เหนือโค้งประตูมีลายเส้นทแยงเข้าหากันตรงส่วนต่อที่กำแพงและสองข้างประตูทำเป็นรูปขดก้นหอยขนาดใหญ่อยู่ระดับเดียวกับใบเสมา กำแพงเมืองสองข้างประตูเป็นกำแพงใบเสมาชนิดปลายแหลม มีช่องดินกาหรือช่องกากบาทเล็กๆเป็นแนวอยู่ที่กำแพง ส่วนล่างของใบเสมามีชานเดินเลียบบนกำแพง และมีบันไดขึ้นบนเชิงเทินอยู่สองข้างประตู ส่วนยอดของประตูได้พังทลายลงมานานแล้ว โดยกำแพงและประตูเมืองหน้าวัดบวรฯที่เหลืออยู่ในปัจจุบันมีขนาดดังนี้
– ความหนาของกำแพง 1.80 เมตร
– ความยาวของแนวกำแพง 40.00 เมตร
– ช่องประตูเมืองกว้าง 3.10 เมตร ลึก 5.15 เมตร
– แนวกำแพงสูง 6.00 เมตร
– ฐานกำแพงถึงซุ้มประตูสูง 12.00 เมตร
พ.ศ.2524 กรมศิลปากรได้บูรณะกำแพงและประตูเมืองหน้าวัดบวรฯ ขึ้นใหม่เนื่องในโอกาสสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี โดยอาศัยรูปถ่ายเดิมครั้งที่รัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นประตูยอดซึ่งแตกต่างจากประตูไม้ทาดินแดงในสมัยรัชกาลที่ 1 และประตูก่ออิฐข้างบนซึ่งใช้เป็นหอรบในสมัยรัชกาลที่