Site Overlay

สถานที่ท่องเที่ยว

รอบคลองหลอดวัดราชบพิธ

มาสัมผัสสถานที่ท่องเที่ยว รอบคูคลอง แบบทัศนียภาพใหม่ เพื่อพักหัวใจไว้ที่พระนคร

สถานที่ท่องเที่ยวรอบคลองหลอดวัดราชบพิธ

มาสัมผัสความสวยงามทางศิลปะและวัฒนธรรม กับทัศนียภาพใหม่ รอบคูคลอง หลังจากได้มีปรับปรุง และพัฒนา

1.วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

ภาพสุสานหลวงของวัดราชบพิธฯ

วัดประจำรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชถึง 3 พระองค์รวมถึงพระองค์ปัจจุบันนี่คือวัดที่เป็นที่ตั้งของสุสานหลวงแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร นี่คืออีกหนึ่งวัดที่ประดิษฐานพระบรมราชสรีรางคารของในหลวงรัชกาลที่ 9 และนี่ยังเป็นอีกวัดที่นำพาโลกตะวันตกเข้ามาผสมผสานกับโลกตะวันออกอย่างลงตัวที่สุดคุณสมบัติทั้งหมดนี้ชี้นำไปสู่วัดเพียงแห่งเดียวเท่านั้น นั่นก็คือ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามสร้างขึ้นในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โดยโปรดฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ และเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) เป็นแม่กองอำนวยการสร้างวัดตามลำดับการก่อสร้างวัดแห่งนี้เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2412

เมื่อแรกสร้างวัด ทรงซื้อวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงบดินทรไพศาลโสภณ ฑีฆชนม์เชษฐประยูร และเจ้าจอมมารดาคล้าย พร้อมกับซื้อบ้านเรือนข้าราชการและชาวบ้านเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับสร้างวัด สิ้นพระราชทรัพย์ไปเป็นเงิน 2,806 บาท 37 สตางค์ (ดูเหมือนน้อย แต่เราต้องไม่ลืมนะครับว่านี่คือค่าเงินในสมัยรัชกาลที่ 5) พร้อมกันนั้นยังทรงนิมนต์พระสงฆ์จากวัดโสมนัสราชวรวิหารมาจำพรรษา พร้อมกับอัญเชิญ ‘พระนิรันตราย’ มาประดิษฐานเอาไว้ด้วยโดยมูลเหตุในการก่อสร้างก็เพื่อให้เป็นไปตามโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์จะทรงสร้างวัด และยังแสดงถึงพระราชศรัทธาอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ด้วย

สุสานหลวงถือเป็นอีกหนึ่งไฮไลต์ของวัดราชบพิธฯ ถือเป็นขนบใหม่ที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เนื่องจากในอดีต การถวายพระกุศลให้แก่เจ้านายที่ล่วงลับไปแล้วมีเพียงการสร้างสิ่งของหรือถาวรวัตถุเป็นการเฉพาะเท่านั้น

สุสานหลวงของวัดราชบพิธฯ แห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระอัฐิและพระราชสรีรางคาร ด้วยมีพระราชประสงค์ให้ผู้ที่รักใคร่ห่วงใยอย่างใกล้ชิดได้มาอยู่รวมกันหลังจากที่ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งภายในสุสานหลวงแห่งนี้มีอนุสรณ์สถานและอนุสาวรีย์อยู่ถึง 34 แห่ง ขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกัน และยังมีรูปแบบที่ต่างกัน บ้างมาแนวตะวันตกจ๋า บ้างมาแนวตะวันออกจ๋า บ้างจำลองมาจากสถานที่ที่มีอยู่จริงๆ

2.วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม

ครั้งนี้เราจะไปชมวัดประจำรัชกาลที่ 4 กันบ้างกับ วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม หรือที่มักเรียกกันสั้นๆ ว่า วัดราชประดิษฐ์ (จากนี้จะขอเรียกชื่อวัดอย่างย่อเพื่อความสะดวกในการอ่านครับ) สร้างอยู่บนพื้นที่ซึ่งเคยเป็นสวนกาแฟใกล้พระบรมมหาราชวัง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดให้สร้างวัดราชประดิษฐ์ตามโบราณราชประเพณีที่จะต้องมีวัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ และวัดราชประดิษฐ์ นอกจากนี้ พระองค์มีพระราชประสงค์ให้สร้างวัดสำหรับพระสงฆ์คณะธรรมยุติกนิกายที่พระองค์เป็นผู้ริเริ่มอีกด้วย โดยเหตุที่ให้ตั้งอยู่ใกล้วังก็เพื่อสะดวกแก่พระองค์ในการปรึกษาข้อปฏิบัติต่างๆ ของธรรมยุติกนิกาย รวมถึงสะดวกแก่ข้าราชบริพารในการทำบุญด้วย ดังนั้น ชื่อวัดในระยะแรกตามจารึกหลังพระวิหารหลวงจึงเป็น ‘วัดราชประดิษฐ์สถิตธรรมยุติการาม’ ก่อนจะเปลี่ยนเป็นชื่อปัจจุบันเมื่อ พ.ศ. 2411 การสร้างวัดแห่งนี้ รัชกาลที่ 4 ทรงซื้อที่ดินสวนกาแฟด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จากนั้นทรงให้ พระยาราชสงคราม (ทองสุก) เป็นแม่กองคุมงาน ใช้เวลาก่อสร้างทั้งสิ้น 7 เดือน แต่ความน่าสนใจอยู่ที่กระบวนการระหว่างกลางครับ เพราะในระหว่างการสร้างวัดมีปัญหาใหญ่เกิดขึ้นคือ พื้นที่ที่จะสร้างวัดนั้นต่ำ โดยเฉพาะบริเวณที่จะสร้างพระวิหารหลวง ดังนั้น จึงโปรดให้นำไหกระเทียมมาถมพื้นวัด โดยทรงบอกบุญให้ชาวบ้านนำไหกระเทียมไม่ว่าสภาพเป็นเช่นไรมาให้ หรือหากต้องการขายก็ทรงคิดราคาให้ตามสมควร ที่สำคัญคือ ทรงจัด ‘ละครรับข้าวบิณฑ์ไหกระเทียม’ เป็นเวลา 3 วัน โดยเก็บค่าเข้าชมเป็นไหกระเทียม หรือหากไม่มีก็สามารถนำไหประเภทอื่นที่ไม่แตกร้าวมาใช้ได้เช่นกัน (ซึ่งเรื่องนี้ได้รับการพิสูจน์แล้วเมื่อ พ.ศ. 2545 ว่ามีไหกระเทียมรวมถึงตุ่มสามโคกที่อัดทรายเอาไว้เต็มที่อยู่ใต้ฐานจริงๆ) จนเมื่อมีการผูกพัทธสีมาแล้วได้ทรงนิมนต์ พระสาสนโสภณ ผู้ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว) และพระสงฆ์อีก 20 รูปจากวัดบวรนิเวศวิหารให้มาจำพรรษาที่วัดแห่งนี้รัชกาลต่อมา คือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดครั้งหนึ่ง พร้อมกับทรงแบ่งพระบรมอัฐิของพระราชบิดาบรรจุลงในกล่องศิลาแล้วนำไปประดิษฐาน ณ ฐานของพระประธานภายในวิหารหลวงซึ่งพระวิหารหลวงถือเป็นอาคารประธานของวัดซึ่งใช้เป็นพระอุโบสถของวัดด้วย อาคารหลังนี้ยังถือเป็นอาคารแบบไทยประเพณีที่สุดของวัดแห่งนี้ เครื่องบนเป็นเครื่องลำยอง หลังคามุงกระเบื้อง มีมุขทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หน้าบันประธานทำเป็นรูปพระมหาพิชัยมงกุฎและพระแสงขรรค์มีช้างเผือกรองรับ ขนาบ 2 ข้างด้วยฉัตรประกอบส่วนหน้าบันมุขทำเป็นรูปเดียวกัน แต่ไม่มีช้างเผือกรองรับ ซึ่งตรานี้คือตราพระบรมราช สัญลักษณ์ของรัชกาลที่ 4 นั่นเอง

3. วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ( รัชกาลที่ 1) ทรงดำรัสให้สร้างขึ้นพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย  มีสถานะเป็น พระอารามหลวงชั้นเอง ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนตีทองและถนนบำรุงเมืองหน้าวัดหันออกทางถนนอุณากรรณสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ( รัชกาลที่ 2) ก็ทรงโปรดให้สร้างและแสดงฝีพระหัตถ์ไว้เป็นอนุสรณ์โดยทรงสร้างบานประตูกลางจำหลักด้วยฝีพระหัตถ์ร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี ของพระวิหารหลวง (ปัจจุบันบานประตูนี้ เก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์) แต่ก็สิ้นรัชกาลก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ   ภายในวัดสุทัศน์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) และมีพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศลคล้ายวันสวรรคตของพระองค์ในวันที่ 9 มิถุนายนของทุกปี ด้านหน้าทางเข้า ฝั่งเสาชิงช้า เมื่อเดินผ่านเข้าซุ้มประตู จะเจอพระวิหารคด สร้างขึ้นแทนพระระเบียงคด เพราะวัดนี้มีพระวิหารหลวงเป็นจุดศูนย์กลางของวัด เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ เรียงกัน ภายในพระวิหารคด เมื่อเดินชมความงามของพระวิหารคดแล้ว ก็ต่อกันด้วย พระวิหารหลวง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของ พระศรีศากยมุนี พระประธาน ในพระวิหาร ซึ่งเป็นพระที่มีความงดงามตามแบบศิลปะสุโขทัย องค์ใหญ่ ชื่อที่ชาวบ้านเรียกในสมัยก่อนว่า พระโต หรือ พระใหญ่ด้านหน้าฐานชุกชี มีช่องประดิษฐาน  พระสรีรังคาร ของรัชกาลที่ 8 ตรงผ้าทิพย์ด้านหน้าฐาน  ด้านหลังของฐานองค์พระ มีสถาปัตยกรรม แผ่นศิลาสลัก ศิลปะทวารวดี ตอนแสดงยมกปาฏิหาริย์ และ เสด็จทรงโปรดพระมารดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งงดงามมาก  ภายในประดิษฐาน พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระประธานในพระอุโบสถ ประดิษฐานบนฐานชุกชี เบื้องหน้าของพระประธาน มีพระพุทธรูปปูนปั้นลงสีพระอสีติมหาสาวก 80 องค์ ซึ่งเปรียบเสมือนการเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า

เวลา 8.30-21.00 น.
โทรศัพท์: 02 622 2819

4. สวนรมณีนาถ

สวนรมณีนาถ หรือที่นิยมเรียกกันติดปากว่า คุกเก่า เป็นสวนสาธารณะที่จัดสร้างขึ้นใหม่ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงเนื่องในโอกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 60 พรรษา เมื่อ พ.ศ. 2535 และได้รับพระราชทานนามว่า “รมณีนาถ” ซึ่งมีความหมายว่า “นางผู้เป็นที่พึ่ง” ตั้งอยู่บริเวณเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเดิม ถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีเนื้อที่ทั้งหมด 29 ไร่ 3 งาน 72 ตารางวา

เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อสร้างเมื่อ ร.ศ.109 (พ.ศ. 2433) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่า ที่ต้องขังจองจำผู้กระทำความผิดต้องควบคู่ไปกับศาลสถิตยุติธรรม ทรงพระราชทานพระราชทรัพย์ให้จัดซื้อที่ดินตำบลตรอกคำ ทำการก่อสร้าง ทรงส่งพระยาไชยวิชิตสิทธิศาสตรา (นาค ณ ป้อมเพชร) ซึ่งเคยไปรับราชการสถานทูตไทย ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไปดูรูปแบบที่สิงคโปร์ โดยนำแบบเรือนจำบริกซ์ตัน อันเป็นเรือนจำระดับความมั่นคงสูงสุดมาใช้ การก่อสร้างเสร็จสิ้นสามารถย้ายนักโทษเข้าไปอยู่ได้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ร.ศ. 109 และได้รับการขนานนามว่า “คุกกองมหันต์โทษ” หรือเรียกกันว่า “คุกใหม่” มีอายุเก่าแก่ถึง 103 ปี และได้เปลี่ยนชื่อหลายครั้ง ครั้งสุดท้ายใช้ชื่อว่า “เรือนจำพิเศษ กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. 2534 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการปรับปรุงทัณฑสถานวัยหนุ่มบางเขน หรือ “เรือนจำกลางคลองเปรม” และได้ย้ายผู้ต้องขังจากเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครมาควบคุมรวมกัน และให้ปรับปรุงพื้นที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานครเป็นสวนสาธารณะ จากการที่สวนรมณีนาถได้ดัดแปลงมาจากเรือนจำ ภายในบริเวณสวนจึงยังคงอนุรักษ์แนวรั้วกำแพง ป้อมยาม ซุ้มประตูทางเข้าไว้เป็นสัญลักษณ์ และเป็นส่วนประกอบของสวน

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดสวนรมณีนาถ และพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2542

เวลา 05.00-21.00น.
 เบอร์ 02-221-5181.

 

5. ศาลาเฉลิมกรุง

ศาลาเฉลิมกรุง หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า โรงมหรสพหลวง ศาลาเฉลิมกรุง หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เฉลิมกรุง เป็นโรงมหรสพหลวง ตั้งอยู่ริมถนนเจริญกรุง แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นโรงภาพยนตร์ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ศาลาเฉลิมกรุงได้วางศิลาฤกษ์โดย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 และเปิดฉายภาพยนตร์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2476 โดยมี มหาภัยใต้ทะเล เป็นภาพยนตร์ปฐมทัศน์

ภายหลังสร้างเสร็จ ศาลาเฉลิมกรุงได้ชื่อว่าเป็นโรงมหรสพแห่งแรกในเอเชียที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งเป็นสิ่งทันสมัยในยุคนั้น เครื่องปรับอากาศที่นำมาใช้เป็นเครื่องปรับอากาศระบบ Chilled Water System ซึ่งเป็นระบบไอน้ำรุ่นแรกจากสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการใช้พัดลมทั่วไป

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485-2488 (รัชกาลที่ 8) ใช้เป็นที่แสดงละครเวทีและดนตรี เนื่องจากไม่มีภาพยนตร์ฉาย ต่อมามีการปรับปรุงใหญ่โดย บริษัทเฉลิมกรุงมณีทัศน์ สามารถใช้ได้ทั้งฉายภาพยนตร์และการแสดงบนเวทีขนาดกว้างขวางกว่าเดิม ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 ในนาม เฉลิมกรุงรอยัลเธียเตอร์ และการแสดงโขนจินตนฤมิตร

โทรศัพท์: 02 224 4499

6. เสาชิงช้า

เสาชิงช้า เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ใน พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยทั่วไปหมายถึงเสาชิงช้าที่ตั้งอยู่หน้า วัดสุทัศน์เทพวราราม และลานหน้า ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (ลานคนเมือง) ใกล้กับ เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ในพื้นที่แขวงเสาชิงช้าและแขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของ กรุงเทพมหานคร แม้พิธีโล้ชิงช้าได้เลิกไปแล้วตั้งแต่สมัย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ก็ตาม 

นอกจากนี้ ใน ประเทศไทย ยังมีเสาชิงช้าอีกแห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ที่ หน้าหอพระอิศวร เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีการประกอบพิธีโล้ชิงช้ามาแต่โบราณเช่นกัน แต่ได้เลิกไปก่อนที่จะมีการก่อสร้างขึ้นใหม่ในภายหลัง โดยจำลองแบบมาจากเสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร เสาชิงช้าที่ กรุงเทพมหานคร แห่งนี้ มีลักษณะเป็นเสาชิงช้าขนาดใหญ่ ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ สูง 21.15 ม. เส้นผ่านศูนย์กลาง ฐานกลมประมาณ 10.50 ม. ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทา สีแดงชาด ติด สายล่อฟ้า จากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน

กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าเป็น โบราณสถาน สำคัญของชาติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 นับตั้งแต่สร้างครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2327 จนถึงการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดซึ่งเสาชิงช้าคู่เดิมถูกถอดเปลี่ยนเมื่อปี พ.ศ. 2549 เสาชิงช้ามีอายุรวมประมาณ 222 ปี

7. ตลาดตรอกหม้อ

  ตลาดตรอกหม้อ(หรือที่รู้จักกันในชื่อตรอกหม้อ) หรือที่รู้จักกันในชื่อThesa Market หรืออย่างเป็นทางการว่าชุมชนราชบพิธพัฒนาเป็นตลาดสดและชุมชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในย่านที่คึกคักที่สุดและเก่าแก่ที่สุดของกรุงเทพฯด้วยตลาดที่คึกคักที่สุด ตั้งอยู่ในพื้นที่ของวัดราชบพิธตำบลในเขตพระนครหรือเกาะรัตนโกสินทร์ที่กรุงเทพฯเป็นเมืองเก่าโซน ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในตลาดที่เปียกภายในกรุงเทพนอกเหนือไปจากปากคลองตลาดและตลาดท่าเตียน 

สถานที่ตลาดตามซอยเทสาซึ่งเป็นถนนด้านข้างแยกออกจากถนนราชภัฏข้างวัดราชบพิธและเชื่อมโยงไปยังถนนบำรุงเมืองในบริเวณใกล้กับเสาชิงช้าและวัดสุทัศน์กับศาลากลางกรุงเทพฯตลาดนี้มี

อายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป ชื่อของมันหมายถึง ” เลนเครื่องปั้นดินเผา ” เพราะในอดีตประมาณ 100 ปีมาแล้วบริเวณนี้เคยเป็นร้านขายเครื่องปั้นก่อนขายให้กับบ้านหม้อที่อยู่ใกล้เคียงในสมัยนั้นตลาดมีพื้นที่กว้างกว่าวันนี้ซึ่งขยายไปถึงลานชิงช้ายักษ์และที่ตั้งปัจจุบันของศาลากลางกรุงเทพฯ ที่เรียกว่า “ตลาดเสาชิงช้า [เสาชิงช้า]” จนถึงปี 2516 ผู้ขายจึงย้ายไปขายที่ตั้งปัจจุบัน เนื่องจากการก่อสร้างศาลาว่าการกรุงเทพแทน

ปัจจุบันเป็นที่รู้จักกันในนามตลาดสินค้าที่หลากหลายเช่นอาหารทะเลผลไม้สดผักพร้อมรับประทานอาหารและเสื้อผ้า นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ยอดนิยมในการทำบุญด้วยการมอบอาหารให้พระประจำวัน นอกจากนี้ปลายของตลาดที่ถนนบำรุงเมืองเป็นศูนย์กลางของร้านค้าของชาวพุทธ พวกเขาทั้งหมดห้องแถวสร้างขึ้นในชิโนโปรตุเกสสถาปัตยกรรมและส่วนใหญ่จะดำเนินการโดยชาวไทยเชื้อสายจีน

ตลาดตรอกหม้อเป็นตลาดเช้า
เปิดตั้งแต่ 05.00 น. ถึง 11.00 น. เท่านั้น

8. ดิโอลด์สยามพลาซ่า

ดิโอลด์สยามพลาซ่า (อังกฤษ: The Old Siam Plaza) เป็นห้างสรรพสินค้าและศูนย์การค้า เป็นการร่วมทุนระหว่างธนาคารไทยพาณิชย์กับบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ บนเนื้อที่ 14 ไร่ซึ่งเป็นที่ดินของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ตั้งอยู่ที่แยกพาหุรัด ด้านถนนพาหุรัดตัดกับถนนบูรพา ตลอดแนวจนถึงถนนตีทอง แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บริเวณใกล้เคียงมีศาลาเฉลิมกรุง, ห้างไนติงเกล และตลาดพาหุรัดเดิมเป็นที่ตั้งของตลาดมิ่งเมือง ซึ่งเป็นแหล่งจำหน่ายเสื้อผ้าสำเร็จรูป และร้านรับตัดเย็บเสื้อผ้า จนกระทั่ง บริษัท สยามพาณิชย์พัฒนาอุตสาหกรรม จำกัด เข้าปรับปรุงพื้นที่ โดยสร้างอาคาร 4 ชั้นขึ้นใหม่ ตามรูปแบบสถาปัตยกรรมโบราณของย่านนั้น เพื่อเปิดเป็นห้างสรรพสินค้าดิโอลด์สยามพลาซ่า มีงานเปิดตัวอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2536

ลานมิ่งเมือง ปัจจุบันดิโอลด์สยามพลาซ่า เปิดให้เช่าพื้นที่ เพื่อจำหน่ายเสื้อผ้า, เครื่องใช้ไฟฟ้า, สินค้าทั่วไป รวมถึงอาวุธปืนที่บริเวณด้านนอกของตัวห้าง นอกจากนี้ ยังได้จัดบริเวณภายในห้าง เป็นลานเฟื่องนคร ให้เป็นที่จำหน่ายอาหารไทยและขนมไทย หลากหลายประเภท รวมถึง ลานมิ่งเมือง สำหรับจำหน่ายเสื้อผ้า อีกทั้งชั้น 3 ของห้างยังเป็นศูนย์อาหาร ที่มีบริการคาราโอเกะ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากของผู้สูงอายุที่นิยมมารวมตัวเพื่อร้องเพลงในแนวย้อนยุค เพื่อย้อนรำลึกถึงยุคที่ย่านวังบูรพากำลังเป็นที่นิยมของวัยรุ่นในยุคสมัยนั้น

ลักษณะสถาปัตยกรรมมีรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ผสมผสานระหว่างความเป็นไทย และ ศิลปะตะวันตกเข้าด้วยกัน

ที่อยู่ 12 อาคาร ดิโอลด์สยามพลาซ่า ถนน บูรพา แขวง วังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
 โทรศัพท์: 02 226 0156

9. บ้านหม้อ

ถนนบ้านหม้อสร้างในปี พ.ศ. 2406 ในช่วงปลายรัชกาลที่ 4 เดิมเป็นส่วนหนึ่งของถนนตะนาว สร้างบนที่ดินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินโปรดฯ ให้พระราชทานให้กับชาวญวนที่อพยพหนีภัยสงครามตั้งแต่ครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 มาตั้งเป็นชุมชน ในสมัยรัตนโกสินทร์ ชุมชนในแถบนี้มีการสร้างอาชีพเฉพาะประจำชุมชน คือเป็นหมู่บ้านทำหม้อและอุปกรณ์ปรุงอาหารขึ้นมาแทน จนกลายเป็นชุมชนที่เรียกติดปากว่า “บ้านหม้อ” จะพบสิ่งปลูกสร้างอาคารได้จากหม้อดินขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่บนจั่วของตลาดบ้านหม้อและตึกแถว ในปัจจุบันบ้านหม้อเป็นย่านร้านค้าเครื่องเพชร อัญมณี เครื่องประดับ ในระยะหลังเริ่มมีการขยายตลาดออกไป คือ ร้านรวงที่รวมตัวกันขายลำโพงและเครื่องเสียง

ที่อยู่: 113 ถนนบ้านหม้อ แขวง วังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

เวลาเปิดปิด 8:00 – 18:00 น.โทร :02 623 9081.

10.พาหุรัด

ถนนพาหุรัด เป็นถนนในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เริ่มตั้งแต่ถนนบ้านหม้อ (สี่แยกบ้านหม้อ) ไปทางทิศตะวันออก ตัดกับถนนตรีเพชร (สี่แยกพาหุรัด) จนถึงถนนจักรเพชร

ถนนพาหุรัดเป็นถนนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นโดยทรงใช้ทรัพย์ส่วนพระองค์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย กรมพระเทพนารีรัตน์ พระราชธิดาซึ่งประสูติจากสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และสิ้นพระชนม์ขณะพระชันษา 8 พรรษาจึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนขึ้นเพื่ออุทิศส่วนกุศลพระราชทานและพระราชทานนามถนนว่า “ถนนพาหุรัด”

ทุกวันนี้ถนนพาหุรัด เป็นย่านที่มีสินค้าที่มีให้เลือกสรรอย่างมากมายและหลากหลายทั้งผ้าตัด อุปกรณ์ตัดเย็บ รวมไปถึงเสื้อผ้าสำเร็จรูปสารพัดชาติ ทั้งชุดไทย-การแสดงนาฏศิลป์ ชุดจีน โดยเฉพาะส่าหรี นอกจากนี้พาหุรัดยังมีชุมชนเล็กๆที่ยังคงดำเนินวิถีแบบภารตะอยู่ จนทำให้หลายๆคน ขนานนามย่านพาหุรัด ว่าเป็น “ลิตเติ้ล อินเดีย”เมืองไทยสถานที่สำคัญในบริเวณนั้น มีวัดคุรุดวาราศรีคุรุสิงห์สภา(วัดซิกข์) เป็นวัดซิกข์แห่งแรกของไทย และยังมีห้างดิโอลด์สยามพลาซ่า ห้างไชน่า เวิลด์ (เดิมชื่อห้างเซ็นทรัลวังบูรพา)และ ห้างอินเดีย เอ็มโพเรียม (เดิมชื่อห้างเอทีเอ็ม)

เปิด 06.30-18.30 น. 

"เที่ยวใหม่กับหัวใจเดิม"

" ปรับปรุงทัศนียภาพคลองคูเมืองเดิมเพื่อคุณภาพชีวิต สู่การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ "
Scroll Up
Translate »