สถานที่ท่องเที่ยว
รอบคลองผดุงกรุงเกษม
มาสัมผัสสถานที่ท่องเที่ยว รอบคูคลอง แบบทัศนียภาพใหม่ เพื่อพักหัวใจไว้ที่พระนคร
สถานที่ท่องเที่ยวรอบคลองผดุงกรุงเกษม
มาสัมผัสความสวยงามทางศิลปะและวัฒนธรรม กับทัศนียภาพใหม่ รอบคูคลอง หลังจากได้มีปรับปรุง และพัฒนา
1. วังบางขุนพรหม
เป็นวังเก่าแก่ที่สร้างมาได้กว่า 100 ปีแล้ว โดยเป็นวังที่ประทับของ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ต้นราชสกุลบริพัตรมีเนื้อที่ภายในวังอยู่ 33 ไร่ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา มีตำหนักรวม 2 ตำหนัก ได้แก่ ตำหนักใหญ่ และ ตำหนักสมเด็จ ด้วยรูปแบบสถาปัตยกรรมตามแบบตะวันตกทั้ง นีโอ-บารอก โรโกโก อาร์นูโว และ อาร์ตเดโค ทำให้วังบางขุนพรหม ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในวังที่สวยที่สุดเมืองไทย และเป็นวังที่สถาปัตยกรรมบารอกและโรโคโค ที่สมบูรณ์ที่สุด โดยปัจจุบันวังบางขุนพรหมได้กลายมาเป็นที่ทำการของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งในวันที่ 1 มิถุนายน 2560 เป็นต้นไป ทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ประกาศเปิดวังบางขุนพรหมให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้เข้าชมแบบฟรี ๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ โดยมีรายละเอียดการเข้าชมดังต่อไปนี้
วันจันทร์ – วันศุกร์ : 09.00-12.00 น. และ 13.00-16.00 น. ให้บริการเป็นหมู่คณะ โดยจองวันเข้าชมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และทำหนังสือขออนุญาตเข้าชมถึง :ผู้อำนวยการ สำนักหอสมุด จดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ 273 ถนนสามเสน แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 วันเสาร์ : 10.30-12.00 น. และ 13.00-16.00 น. ให้บริการประชาชนทั่วไป (Walk-in) โดยไม่ต้องจองล่วงหน้า (โปรดเตรียมบัตรประชาชน/บัตรนักเรียน/ใบขับขี่/หนังสือเดินทาง เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเข้าชมพิพิธภัณฑ์) หยุดวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ จองการเข้าชมและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2283 5286, 0-2283-6723,
0-2283-6152
2. วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง
วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายประมาณปี พ.ศ. 2295 ไม่ปรากฏนามผู้สร้าง อุโบสถแต่เดิมแบบเตาเผาปูน กุฏิฝากระแชงอ่อน เดิมชื่อ “วัดไร่พริก” เพราะเป็นวัดที่ปลูกอยู่ใกล้สวนผักของชาวจีน ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดบางขุนพรหม” ตามชื่อของหมู่บ้านซึ่งมีขุนพรหมเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน ต่อมา สมัยกรุงธนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2321 พระเจ้าสิริบุญสารผู้ครองนครศรีสัตนาคนหุต ได้ยกกองทัพรุกรานมาถึงบ้านดอนมดแกง (จังหวัดอุบลราชธานี – ปัจจุบัน) ได้จับพระลอ ผู้ซึ่งสวามิภักดิ์ในพระบรมโพธิสมภาพของพระเจ้ากรุงธนบุรี แล้วทำการประหารเสีย เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบก็ทรงขัดเคืองพระทัย จึงโปรดฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นแม่ทัพพร้อมด้วยพระสุรสีห์กรีฑาทัพขึ้นไปปราบปรามและสามารถตีเมืองเวียงจันทน์แตก ส่วนพระเจ้าสิริบุญสารได้ลี้ภัยไปอาศัยในแดนญวน ภายหลังเสร็จศึกสคราม สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้นำตัวเจ้าอินทวงศ์ โอรสในพระเจ้าสิริยุญสารลงมากรุงธนบุรีด้วย และโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินทวงศ์และคณะพำนักตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ ณ บริเวณตำบลไร่พริก (แขวงบางขุนพรหม – ปัจจุบัน) เจ้าอินทวงศ์มีศักดิ์เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียว เจ้าเมืองเวียงจันทน์ ธิดาคนหนึ่งของเจ้าอินทวงศ์นามว่า เจ้าทองสุก กับเจ้าน้อยเขียว ได้เป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ต่อมาเจ้าอินทวงศ์ได้มีศรัทธาดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์เปลี่ยนแปลงรูปทรงอุโบส ก่ออิฐถือปูนเป็นแบบที่ยังปรากฏอยู่ทุกวันนี้ และสร้างศาลาพร้อมกับขุดคลองเหนือใต้และด้านหลังวัด เมื่ออารามมีความมั่นคงดีแล้ว จึงอาราธนาท่านเจ้าคุณอรัญญิกเถร (ด้วง) ผู้เรืองในวิปัสสนาธุระและใจดีมาช่วยเป็นภาระธุระในกิจการของสงฆ์ และถือเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกที่มีหลักฐานปรากฏยืนยัน
ในแผ่นดินรัชกาลที่ 3 พระองค์เจ้าอินทร์ ในกรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพย์ ได้บูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถซึ่งยังคงปรากฏมาจนปัจจุบัน ครั้นถึงแผ่นดินในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนผ่านกลางวัดบางขุนพรหม วัดบางขุนพรหม จึงกลายเป็น 2 วัดคือวัดบางขุนพรหมนอก (วัดใหม่อมตรส – ปัจจุบัน) และวัดบางขุนพรหมใน (วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง – ปัจจุบัน) เนื่องจากอยู่ภายในเขตวังเทวะเวสม์ที่พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ (จึงเรียกชื่อว่า “วัดบางขุนพรหมใน”)
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่พบหลักฐานการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการนิยมเรียกกันว่า “วัดไร่พริก” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “วัดบางขุนพรหม”เรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดอินทร์” หรือ “วัดอินทาราม” ตามนามของผู้ปฏิสังขรณ์ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 6) ได้โปรดเกล้าฯ ให้คณะสงฆ์เปลี่ยนนามวัด เนื่องจากชื่อเดิมไปพ้องกับวัดอินทราม (ใต้) บางยี่เรือใต้ (ธนบุรี) สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ (ม.ร.ว. ชื่น นภวงศ์) แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้ขนานนามว่า “วัดอินทรวิหาร” ประมาณปี พ.ศ. 2470 และยังคงใช้ชื่อนี้ตราบกระทั่งปัจจุบันต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะจากวัดราษฎร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2543 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2543 ดังนั้นจึงมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วัดอินทรวิหาร พระอารามหลวง”เลขที่ 144 ถนนวิสุทธิกษัตริย์ แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
เบอร์โทร: 02-628-5550-2, 0-2282-0461, 0-2282-3094
3. พระบรมรูปทรงม้า
พระบรมรูปทรงม้า สร้างขึ้นโดยนำแบบอย่างมาจากพระบรมรูปของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ที่กรุงปารีส ด้วยฝีมือนายช่างชาวฝรั่งเศส บริษัท ซุซ แฟรส์ ฟองเดอร์ (Susse Frères Fondeur) ในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อ พ.ศ. 2450 เนื่องจากโรงหล่อดังกล่าวเพิ่งหล่อพระบรมรูปทรงม้าของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน อย่างไรก็ตาม ข้อเท็จจริงดังกล่าวอาจคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง เนื่องจากไม่ปรากฏว่ามีการหล่อพระบรมรูปทรงม้าของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 แห่งสเปน แต่มีหลักฐานว่าพระบรมรูปทรงม้าของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 12 แห่งสเปนได้หล่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2447 (ค.ศ. 1904) ซึ่งปัจจุบันพระบรมรูปทรงม้าดังกล่าวตั้งอยู่ในสวนสาธารณะบวนเรตีโร (Buen Retiro) ณ กรุงมาดริด ประเทศสเปน
พระองค์เสด็จประทับ ให้ช่างปั้นชื่อ จอร์จ เซาโล (Georges Saulo) ปั้น เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2450 พระบรมรูปสำเร็จเรียบร้อยส่งเข้ามาถึงกรุงเทพฯ เมื่อ วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน 2451 อันเป็น เวลาพอดีกับงานพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก เนื่องในโอกาสเถลิงถวัลย์ราชสมบัติ 40 ปี เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้าขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองหน้าพระราชวังดุสิต โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จไปทรงทำพิธีเปิดด้วยพระองค์เองพระบรมรูปทรงม้าสร้างขึ้นด้วยเงินที่ประชาชนได้เรี่ยไรสมทบทุน ส่วนเงินที่เหลือเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้นำไปสร้างมหาวิทยาลัยขึ้น มีนามตามพระปรมาภิไธยว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศไทย
สำหรับองค์พระบรมรูปทรงม้านั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จไปทำการตกลงและเลือกชนิดโลหะด้วยพระองค์เอง อีกทั้งยังเสด็จไปประทับเป็นแบบให้นายช่างปั้นหุ่น ขณะเสด็จประทับอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งพระรูปมีขนาดโตเท่าพระองค์จริง เสด็จประทับอยู่บนหลังม้าพระที่นั่ง โดยม้าพระที่นั่งนั้นมิใช่ปั้นจากแบบม้าพระที่นั่งจริง แต่เป็นม้าที่บริษัทได้ปั้นเป็นแบบเตรียมไว้เรียบร้อยแล้ว พระบรมรูปทรงม้าหล่อด้วยโลหะทองบรอนซ์ ยึดติดกับแท่นทองบรอนซ์ เป็นที่ม้ายืน หนาประมาณ 25 เซนติเมตร ประดิษฐานบนแท่นรอง ทำด้วยหินอ่อน สูง 6 เมตร กว้าง 2 เมตร ยาว 5 เมตร ห่างจากฐานของแท่นออกมา มีโซ่ขึงล้อมรอบกว้าง 9 เมตร ยาว 11 เมตร ตรงฐานด้านขวามีอักษรโรมัน ภาษาฝรั่งเศสจารึกชื่อช่างปั้นและช่างหล่อชาวไว้ว่า C.MASSON SEULP 1908 และ G.Paupg Statuare และด้านซ้ายเป็นชื่อบริษัทที่ทำการหล่อพระบรมรูปทรงม้าว่า SUSSE Fres FONDEURS. PARIS สำหรับแท่นศิลาอ่อนด้านหน้า มีแผ่นโลหะจารึกอักษรไทย ติดประดับแสดงพระบรมราชประวัติและพระเกียรติคุณ ลงท้ายด้วยคำถวายพระพรให้ทรงดำรงราชสมบัติอยู่ยืนนาน
4. วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร อีกหนึ่งวัดสำคัญของกรุงเทพฯ ตั้งอยู่มุมถนนนครปฐม ตัดกับถนนศรีอยุธยา เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติไม่น้อย เพราะภายในวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารมีสถานที่สำคัญและน่าสนใจให้ได้เที่ยวชมหลายแห่งวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหารที่โดดเด่นและห้ามพลาดมาก ๆ ก็คือ “พระอุโบสถ” ด้วยมีสถาปัตยกรรมแบบไทยสมัยรัตนโกสินทร์ที่สวยงาม ด้านนอกพระอุโบสถประดับด้วยแผ่นหินอ่อนสี่เหลี่ยมสีขาวบริสุทธิ์ หนา 3 เซนติเมตรทั้งหมด ทำให้อาคารมีสีขาวผ่อง สวยสะดุดตา จนได้รับฉายาว่าเป็น The Marble Temple
นอกจากนี้ยังมีโครงสร้างที่โดดเด่น มีลักษณะแบบจตุรมุข มุขด้านตะวันออกขยายยาว ด้านเหนือและใต้มีมุขกระสันต่อกับพระระเบียง หลังคา 4 ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสีเหลือง เรียกว่ากระเบื้องกาบู ด้านมุขกระสันทิศเหนือและทิศใต้ 5 ชั้น มีพระระเบียงโอบรอบด้านหลัง และยังมีการตกแต่งส่วนอื่น ๆ ทั้งภายในและภายนอกอุโบสถอย่างงดงาม นอกจากจะได้มาทำบุญขอพรไหว้พระแล้ว ก็ยังได้ถ่ายภาพสวย ๆ คู่กับสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าของไทยด้วย
ที่อยู่ : 69 ถนนนครปฐม แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เบอร์โทรศัพท์ : 02 282 9686
5. สนามมวยราชดำเนิน
สนามมวยราชดำเนิน หรือ เวทีมวยราชดำเนิน (อังกฤษ: Rajadamnern Stadium) เวทีมวยระดับมาตรฐานหนึ่งในสองแห่งของประเทศไทย (อีกแห่งหนึ่งคือสนามมวยเวทีลุมพินี) ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 1 ถนนราชดำเนินนอก แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สนามมวยราชดำเนินก่อตั้งขึ้นโดยดำริของจอมพล ป. พบูลสงคราม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างขึ้น โดยเริ่มก่อสร้างตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเสร็จสิ้นหลังสงครามสงบแล้ว ในปี พ.ศ. 2488 โดยสนามมวยราชดำเนินได้เริ่มการแข่งขันครั้งแรก ในวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2488 โดยในระยะแรกยังไม่มีหลังคามุง
สนามมวยราชดำเนิน นับเป็นเวทีมวยระดับมาตรฐานแห่งแรกของประเทศไทย ได้ถูกยอมรับว่ามีทำเลที่ตั้งและสถาปัตยกรรมสวยงามแห่งหนึ่งของโลก มีนักมวยทั้งนักมวยไทย นักมวยสากล จำนวนมากขึ้นชกที่นี่ โดยนักมวยสากลหลายคนที่ก่อนและได้เป็นแชมป์โลกแล้วที่ทำการขึ้นชกที่นี่ ได้แก่ โผน กิ่งเพชร, ชาติชาย เชี่ยวน้อย, เวนิส บ.ข.ส., พเยาว์ พูนธรัตน์, เขาทราย แกแล็คซี่, รัตนพล ส.วรพิน, ชนะ ป.เปาอินทร์ เป็นต้น
ปัจจุบัน สนามมวยราชดำเนินได้ติดตั้งเครื่องปรับอากาศจึงได้ชื่อเรียกเล่น ๆ จากแฟนมวยว่า “วิกแอร์” และปรับปรุงสภาพใหม่ ในการดูแลของบริษัท เวทีราชดำเนิน จำกัด โดยเช่าช่วงต่อจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีนายเฉลิมพงษ์ เชี่ยวสกุล เป็นนายสนาม โดยมีการจัดการแข่งขันชิงแชมป์ของเวทีทั้งมวยไทยและมวยสากล ตั้งแต่รุ่นมินิฟลายเวต (105 ปอนด์) จนถึงรุ่นมิดเดิลเวต (160 ปอนด์) โดยผู้ที่ได้แชมป์ของสนามมวยราชดำเนินนี้ก็เหมือนกับได้แชมป์ประเทศไทย
สนามมวยราชดำเนิน จัดให้มีการชกทุกวันจันทร์, พุธ และพฤหัสบดี เวลา 18.00-21.00 น.
วันอาทิตย์ เวลา 17.00-21.00 น. เว้นวันสำคัญทางศาสนา โทรศัพท์: 02 281 4205
6. ตลาดน้ำคลองผดุงกรุงเกษม
เนื่องจาก กทม. ต้องการพัฒนาพื้นที่บริเวณริมคลองผดุงกรุงเกษมและพื้นที่ที่เกี่ยวเนื่องที่แต่เดิมถูกปล่อยปละละเลย ให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่ พร้อมกับอนุรักษ์วิถีชีวิตดั้งเดิมแบบไทยๆ ซึ่งผูกพันอยู่กับสายน้ำลำคลองเอาไว้ไม่ให้สูญหายไป ถือเป็นการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เข้ามาเรียนรู้ และสัมผัสวิถีชีวิตริมน้ำแบบไทยใน อดีตทาง กทม. ได้เนรมิตให้มีพื้นที่ตลาดบกและตลาดน้ำขึ้น โดยตลาดบกเปิดให้บริการเวลา 11.00-20.00 น. และตลาดน้ำให้บริการ 15.00-20.00 น. ภายในนตลาดนักท่องเที่ยวจะได้พบกับเรือค้าขายเข้าร่วมงานจำนวนถึง 90 ลำ และมีท่าเรืออีก 3 ท่า เอาไว้บริการนักท่องเที่ยวที่ต้องการนั่งเรือชมคลองผดุงกรุงเกษมย่านเทเวศน์-หัวลำโพง โดยจัดเรือท่องเที่ยวขนาดที่นั่ง 40 คน ไว้บริการวันละ 2 เที่ยว เวลา 16.00 น. และ 17.00 น.ส่วนกิจกรรมที่จะมีขึ้นภายในงานก็น่าสนใจ ได้แก่ ในโซนตลาดบกจะมีการจัดซุ้มการทำเรือจำลอง การทำว่าวประดิษฐ์ งานศิลปหัตถกรรม การเสวนาทางวิชาการ หัวข้อ วิถีไทยกับสายน้ำ นิทรรศการประวัติศาสตร์คลองผดุงกรุงเกษม การแสดงวัฒนธรรมดนตรี และการแสดงศิลปวัฒนธรรม ส่วนโซนตลาดน้ำจะมีการแข่งขันพายเรือประเภทสนุกสนาน การแข่งขันเรือหัวใบ้ท้ายบอด นอกจากนี้ในบริเวณใกล้เคียง ยังมีการกิจกรรมเดินทางท่องเที่ยวแหล่งวัฒนธรรมย่านนางเลิ้ง บริเวณตลาดนางเลิ้ง โรงหนังเฉลิมธานี วัดสุนทรธรรมทาน และบ้านศิลปะ พร้อมจัดซุ้มถ่ายรูปที่ระลึกภายในบริเวณงาน อีกทั้งยังมีกิจกรรมตักบาตรทางเรือ จำนวน 61 รูป เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่จะจัดขึ้นในวันพุธที่ 25 ก.พ. เวลา 07.00 น. อีกด้วยจุดแรก สามารถโดยสารรถไฟใต้ดิน MRT มาลงที่สถานีหัวลำโพงและขึ้นเรือจากท่าเรือหัวลำโพงมายังบริเวณจัดงาน รับส่งทุกวัน ตั้งแต่เวลา 11.00 – 19.00 น.
7. พิพิธภัณฑ์สักทอง
“พิพิธภัณฑ์สักทอง” เป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑ์ที่ฉันอยากจะมาชมด้วยตาตัวเองสักครั้ง เพราะได้ยินมาว่าเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงนิทรรศการความรู้เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา ในบรรยากาศเรือนทรงปั้นหยาหลังงามที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง อีกทั้งยังเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งแรกที่จัดแสดงหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระสังฆราชทั้ง 19 พระองค์ของประเทศไทยให้ได้ชมเมื่อฉันเดินทางมาถึงพิพิธภัณฑ์สักทอง ที่ตั้งอยู่ภายใน “วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร” บริเวณถนนศรีอยุธยา เขตดุสิต สิ่งแรกที่ได้เห็นก็คือบ้านทรงปั้นหยาแบบประยุกต์สองชั้นสวยงามอลังการ ที่ด้านหน้าทางเข้าเป็นที่ประดิษฐาน “ประติมากรรมพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณหล่อด้วยสัมฤทธิ์” ให้ได้แวะสักการะขอพรก่อนเข้าชมหลังจากฉันได้ก้าวเท้าเข้าสู่ภายในพิพิธภัณฑ์สักทอง ที่มีบรรยากาศโอ่อ่าทุกสัดส่วนถูกตกแต่งด้วยไม้สัก แต่ที่โดดเด่นสะดุดตาฉันเป็นที่สุดก็คงจะเป็นเสาบ้านไม้สักทองขนาดสองคนโอบ ที่มีลวดลายไม้สีเหลืองตระการตา ฉันได้รู้มาว่าบ้านหลังนี้มีเสาไม้สักทองดังกล่าวถึง 59 ต้น และไม้สักที่ใช้ในการสร้างบ้านหลังนี้มีอายุถึง 479 ปี จากการนับจำนวนวงปีร่วมกับการวิเคราะห์ค่าอายุโดยใช้สัดส่วนของคาร์บอนไอโซโทป
อาคารพิพิธภัณฑ์สักทอง ลักษณะทรงปั้นหยาประยุกต์ 2 ชั้น กว้าง 16.75 เมตร ยาว 30.15 เมตร ใช้เสาไม้สักทองทั้งหลัง ขนาดเสา 2 คนโอบ มีอายุประมาณ 479 ปี ซึ่งมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างยิ่ง สร้างขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านพระพุทธศาสนา อนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติในด้านสถาปัตยกรรมและเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในโอกาสมหามงคลที่ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมพรรษา 75 พรรษา พ.ศ. 2550 ภายในจัดแสดงรูปปั้นหุ่นขี้ผึ้งเท่าพระองค์จริงของสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ 19 พระองค์ และประดิษฐานพระบรม
พิพิธภัณฑ์สักทอง ตั้งอยู่ภายในวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร ถนนศรีอยุธยา แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 10.00-17.00 น. ค่าเข้าชม 30 บาท พระภิกษุ สามเณร แม่ชี ผู้สูงอายุ (อายุเกิน 60 ปี) เข้าชมฟรี การเดินทาง : รถโดยสารประจำทางสาย 9,524,64,3,30,33 หรือใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยา ลงท่าเทเวศร์ แล้วเดินไปยังวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
8. ตลาดเทเวศร์
แหล่งรวมความอร่อยอีกหนึ่งแห่งของกรุงเทพฯ ครบถ้วนไปด้วยร้านอาหารและร้านขนมหวาน พร้อมทั้งยังมีสินค้าอื่น ๆ ให้ได้ไปเดินช้อปปิ้งกันอีกเพียบเมื่อมาถึงตลาดเทเวศร์จะพลาดไม่ได้กับการกินอาหารร้านดัง ใครที่ชอบกินข้าวซอยต้องมาลิ้มลองกันที่ “ร้านข้าวซอยแม่สุภาพ” เส้นเหนียวนุ่มกำลังดี น้ำซุปเข้มข้นได้ใจ กินแกล้มกับผักเครื่องเคียงต่าง ๆ อร่อยแบบต้นตำรับเมืองเหนือเลยทีเดียวถ้าอยากกินประเภทข้าวแนะนำให้มาลิ้มลองข้าวมันไก่ที่ “ร้านมงคลชัย” เนื้อข้าวนิ่ม ไม่มันเกินไป
ทำให้ไม่เลี่ยน ตัวเนื้อไก่ก็แน่น พอได้กินกับน้ำจิ้มสูตรพิเศษของทางร้านก็ยิ่งอร่อย มีไก่ทอดและไก่ย่างให้เลือก
อิ่มอร่อยอีกต่างหาก ส่วนถ้าใครชอบประเภทก๋วยเตี๋ยว ขอแนะนำ “ร้านก๋วยเตี๋ยวลูกชิ้นปลาลิ้มฮั่วเฮง” เป็นร้านเก่าแก่เปิดมายาวนานหลายสิบปี น้ำซุปอร่อยเข้มข้นกลิ่นหอมนุ่มเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว พร้อมเสิร์ฟมากับเส้นเหนียวนุ่ม ลูกชิ้นปลาเนื้อแน่นและเด้งดึ๋ง อีกทั้งเครื่องอื่น ๆ แบบเต็มชาม อร่อยแบบวางช้อนไม่ได้จริง ๆและถ้าใครชอบกินขนมหวาน ห้ามพลาดเลยกับ “ชิฟฟ่อนเบเกอรี่” เนื้อชิฟฟ่อนนุ่มมาก กลิ่นหอมมาก
มีให้เลือก 3 รสชาติ คือใบเตย กาแฟ และช็อกโกแลต และยังมีแบบโรลกับบัตเตอร์เค้กให้เลือกกิน นอกจากนี้ก็ยังมีร้านอร่อยอีกมากมาย เช่น กุ๊กชม, ร้านโสภณลูกชิ้นหมู, กิ้วเทเวศร์, ต้นหอม ผักชี, ข้าวต้มเชี่ยวชาญพานิช, ผัดไทยเทเวศร์ 359, คุณดาวขนมเบื้องไทย, ราดหน้ายอดผัก (สูตร 40 ปี), ข้าวหมกไก่สุวิมล และปาท่องโก๋เสวย เป็นต้น
เวลา 03.00-12.00 น.
โทรศัพท์: 064 772 6358
9. พิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวัน
วังปารุสกวัน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวย่านดุสิตที่ไม่ควรพลาดจริง ๆ ค่ะ ด้วยเป็นพระราชวังที่มีสถาปัตยกรรมที่สวยงาม ที่นี่เคยเป็นพระตำหนักที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ต่อมาก็ได้พระราชทานให้แก่สมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ และเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในยุคการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 วังปารุสกวันก็ได้เป็นกองบัญชาการของคณะรัฐบาล ปัจจุบันได้อยู่ในความดูแลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกลายเป็นพิพิธภัณฑ์ตำรวจ วังปารุสกวันดั้งเดิมวังปารุสกวันจะมีอยู่ 2 ตำหนักสำคัญ คือ “ตำหนักปารุสก์” และ “ตำหนักสวนจิตรลดา”
แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการดูแลก็ได้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ในส่วนที่เปิดให้เข้าชมก็คือตำหนักสวนจิตรลดาซึ่งมีสถาปัตยกรรมอาคารแบบอิตาเลียนวิลล่า ออกแบบโดยมาริโอ ตามาญโญ มีสีเหลืองสวยสะดุดตา ด้านในตกแต่งแบบอาร์ตนูโว บารอค และรอคโคโค
เวลาเปิด-ปิด : วันพุธ-อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์-อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 10.00-16.00 น.
เบอร์โทรศัพท์ : 02 282 5057, 09 7173 4441
10. พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้
พิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้มีจุดเริ่มต้นจาก คุณสกุล อินทกุล ศิลปินนักจัดดอกไม้ระดับนานาชาติ ต้องการเผยแพร่ความรู้และสืบสานวัฒนธรรมงานดอกไม้ไทยตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้ผู้สนใจได้เข้ามาเยี่ยมชม เปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ.2555 ภายในบริเวณบ้านโบราณสไตล์โคโลเนียล อายุกว่าร้อยปีในซอยองครักษ์ เดิมพื้นที่ในซอยนี้เป็นที่ดินพระราชทานของรัชกาลที่ 6 เพื่อให้เป็นที่พำนักของเหล่าองครักษ์ ซึ่งก่อนหน้านี้ถนนบริเวณหน้าบ้านเคยเป็นคลองเชื่อมกับแม่น้ำเจ้าพระยามาก่อนบรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์นั้นแวดล้อมด้วยต้นไม้เขียวชอุ่ม ดูร่มรื่นสบายตา โดยปลูกพรรณไม้มงคลตามความเชื่อของคนไทย เช่น อโศก ชีวิตจะได้ไม่เศร้าโศก มีแต่ความสุข มะม่วง เชื่อว่าจะร่ำรวย อยู่สุขสบาย และไม้โบราณอย่างเต่าร้าง เป็นต้น นอกจากนี้ยังเลือกสรรงานศิลปะมาแขวนตกแต่งตามต้นไม้ได้อย่างสวยงาม พร้อมจัดมุมนั่งเล่นหน้าบ้านสำหรับให้ผู้มาเยือนได้นั่งพักผ่อน
บรรยากาศภายในพิพิธภัณฑ์นั้นแวดล้อมด้วยต้นไม้เขียวชอุ่ม ดูร่มรื่นสบายตา โดยปลูกพรรณไม้มงคลตามความเชื่อของคนไทย เช่น อโศก ชีวิตจะได้ไม่เศร้าโศก มีแต่ความสุข มะม่วง เชื่อว่าจะร่ำรวย อยู่สุขสบาย และไม้โบราณอย่างเต่าร้าง เป็นต้น นอกจากนี้ยังเลือกสรรงานศิลปะมาแขวนตกแต่งตามต้นไม้ได้อย่างสวยงาม พร้อมจัดมุมนั่งเล่นหน้าบ้านสำหรับให้ผู้มาเยือนได้นั่งพักผ่อน
หากใครมาถึงก่อนเวลาเข้าชมพิพิธภัณฑ์ แนะนำให้เดินชมบรรยากาศรอบบ้านและสวนบริเวณด้านในซึ่งจะมีร้านน้ำชา Salon du thé ตั้งอยู่บริเวณระเบียงบ้าน สามารถมานั่งจิบชา พร้อมเพลิดเพลินไปกับเสียงเพลงบรรเลงที่เปิดคลอเบาๆ และดื่มด่ำกับความสดชื่นจากไม้ใบไม้ดอกของไทยนานาชนิดที่ปลูกรายรอบ เช่น ดอกพุด ดอกรัก นอกจากนี้ยังมีศาลาไทยกลางสวนสำหรับให้ผู้มาเยือนได้นั่งเล่นอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ ชมวิวสระน้ำ ซึ่งในบริเวณนี้ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานปาร์ตี้หรืองานแต่งงานสไตล์ไทยโบราณได้อีกด้วย
สำหรับการเข้าชมภายในพิพิธภัณฑ์เริ่มจากการซื้อบัตรเข้าชม ราคา 150 บาท หรือจะซื้อแบบแพ็คเกจ ราคา 350 บาท ซึ่งจะประกอบด้วยบัตรเข้าชมพิพิธภัณฑ์และชุดน้ำชาพร้อมขนมไทยโบราณหารับประทานยาก ความพิเศษอยู่ที่มีชาดอกไม้กลิ่นต่างๆให้คุณได้เลือกลิ้มรส เช่น ชาพะยอม ชากุหลาบ ชาหอมหมื่นลี้ ฯลฯ
พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีมัคคุเทศก์พาชมทั้งรอบภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาญี่ปุ่น คุณสามารถชวนเพื่อนชาวต่างชาติที่สนใจวัฒนธรรมไทยเข้าชมได้ แต่ภายในอาคารพิพิธภัณฑ์ไม่อนุญาตให้ถ่ายภาพ และสำหรับผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช็อปงานดอกไม้ประดิษฐ์แบบต่างๆ สามารถสมัครเข้าร่วมได้ อาทิ มาลัยรูปกระแตน้อย งานปรพิพิธภัณฑ์วัฒนธรรมดอกไม้ (The Museum of Floral Culture) ประดิษฐ์ดอกไม้เล็กของไทย การพับดอกบัวหลากหลายแบบ ม่านมาลัยดอกไม้ เป็นต้น
เปิดให้ชมวันอังคาร – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 น. – 18.00 น. (ปิดวันจันทร์)โทรศัพท์ 0-2669-3633 ที่อยู่ 315 Samsen Rd. Soi 28, Yaek Ongkarak 13, เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300