สถานที่ท่องเที่ยว
รอบคลองคูเมืองเดิม
มาสัมผัสสถานที่ท่องเที่ยว รอบคูคลอง แบบทัศนียภาพใหม่ เพื่อพักหัวใจไว้ที่พระนคร
สถานที่ท่องเที่ยวรอบคลองคูเมืองเดิม
มาสัมผัสความสวยงามทางศิลปะและวัฒนธรรม กับทัศนียภาพใหม่ รอบคูคลอง หลังจากได้มีปรับปรุง และพัฒนาจากโครงการรักษ์คูคลองเมืองเดิม
1. วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือ วัดพระแก้ว
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นในพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 เป็นวัดในพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นวัดในพระราชวังหลวงในสมัยอยุธยา และมีพระราชประสงค์ให้วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต พระคู่บ้านคู่เมืองของแผ่นดินสยามที่พบ ณ วัดป่าเยี้ยะ (ป่าไผ่) จังหวัดเชียงราย และเป็นสถานที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เพราะมีแต่ส่วนพุทธาวาสไม่มีส่วนสังฆาวาส
เวลาทำการ : 08.30 – 15.00 น.
โทรศัพท์ : 02 224 3290
2. วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) โดยทั่วไปเรียก วัดโพธิ์ เป็นวัดในศาสนาพุทธ ตั้งอยู่ ณ กรุงเทพ ประเทศไทย มีสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของ ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551 และวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ เมื่อมีนาคม พ.ศ. 2551 และวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์ พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เวลาทำการ : 08.30 – 18.00 น.
โทรศัพท์ : 02 226 0335
3. ศาลเจ้าพ่อเสือ
ศาลเจ้าพ่อเสือ สร้างตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เดิมตั้งอยู่ริมถนนบำรุงเมือง ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้ขยายถนนบำรุงเมือง โดยให้ย้ายและพระราชทานที่ให้แก่ศาลเจ้าพ่อเสือมาไว้ที่ทางสามแพร่ง ถนนตะนาว ใกล้กับวัดมหรรณพาราม ซึ่งมีตำนานเกี่ยวกับเจ้าพ่อเสืออยู่แต่เดิม จึงมีการรวมศาลกันเกิดขึ้นจนเป็นศาลเจ้าพ่อเสือในปัจจุบัน
เวลาทำการ : จันทร์-อาทิตย์ 6.00 -17.00 น.
เบอร์โทร 02 225 2777
4. สวนสราญรมย์
สวนสราญรมย์ หรือ พระราชอุทยานสราญรมย์ เป็นสวนสาธารณะ อยู่ตรงข้ามกับพระบรมมหาราชวังไปทางทิศตะวันออก เดิมสวนสราญรมย์เป็นเขตพระราชอุทยานของพระราชวังสราญรมย์ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2409 สวนสราญรมย์ก่อสร้างขึ้นในช่วงต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประมาณ พ.ศ. 2417
สถานที่ใกล้เคียง: ตึกถาวรวัตถุ พระบรมมหาราชวัง พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ พิพิธภัณฑ์ฯ พระนคร ม.ธรรมศาสตร์ ม.ศิลปากร วิทยาลัยในวัง วัดพระแก้ว
วัดพระเชตุพนฯ วัดพระมหาธาตุ วัดราชประดิษฐ์ฯ ศาลหลักเมือง สนามหลวง หอกลอง หอนาฬิกา
เวลา: จันทร์-เสาร์ 8.30 -16.30 น.
วันหยุดทำการ: อาทิตย์ วันนักขัตฤกษ์ บริเวณสวน: ทุกวัน 5.00-20.00 น.
รถประจำทาง: 1 , 3 , 6 , 9 , 12 , 25 , 32 , 43 , 44 , 47 , 48 , 53 , 60 , 82 , 91 ,123
รถปรับอากาศ: 8 , 9 , 25 , 44 , 91 , 506 , 507 , 512
5. พิพิธภัณฑ์มิวเซียมสยาม
มิวเซียมสยาม พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้นี้ ถือเป็นแหล่งการเรียนรู้หนึ่งที่เน้นจุดมุ่งหมายในการแสดงตัวตนของชนในชาติ ซึ่งจะทำให้ผู้เข้าชม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เข้าชมที่อยู่ในวัยเด็กและเยาวชน ได้เรียนรู้รากเหง้าของชาวไทย โดยเน้นไปที่กลุ่มชนในเขตเมืองบางกอก หรือที่เรียกในปัจจุบันว่า กรุงเทพมหานคร เป็นสำคัญ เนื่องจากตัวมิวเซียมสยามแห่งนี้ได้ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร แต่มิได้หมายความว่าถ้าเป็นคนไทยต่างจังหวัด จะไม่สามารถมาเรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์นี้ได้ ด้วยเพราะสิ่งที่จัดแสดงในตู้ เน้นการนำเสนอความเป็นไทย ในมิติที่ร่วมสมัยมากขึ้น ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ผ่านการนำเสนอด้วยสื่อผสมหลายรูปแบบ ทำให้มีความน่าสนใจ และดึงดูดใจผู้เข้าชมได้เป็นอย่างยิ่ง
เบอร์โทร 02 225 2777
6. พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ / หอศิลป์เจ้าฟ้า
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป์ (อังกฤษ: The National Gallery) หรือ หอศิลป์เจ้าฟ้า เป็นหอศิลป์และเป็นหนึ่งในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติของประเทศไทย ตั้งอยู่ข้างสะพานพระปิ่นเกล้า ถนนเจ้าฟ้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ในอาคารที่เดิมเคยเป็นโรงกษาปณ์ ออกแบบโดยนายคาร์โล อัลเลกรี (Carlo Allegri) สถาปนิกชาวอิตาลี วัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นสถานที่เก็บรวบรวม และจัดแสดงผลงานศิลปะประเภททัศนศิลป์ ตลอดจนเป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับเกี่ยวกับศิลปะไทยประเพณีและร่วมสมัย
เวลาทำการ: เปิดทุกวัน เวลา 9.00-16.00 น..
เบอร์โทร 02 281 2224
7. พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่โบราณ
ปืนใหญ่โบราณ ของกองทัพไทย ที่ใช้ออกรบคู่กับนักรบไทยครั้งกรุงสุโขทัยจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่๒ มีจำนวนหลายร้อยกระบอก แต่ปืนใหญ่โบราณเหล่านี้ได้ถูกกองทัพเมียนม่าขนไปประเทศเมียนม่าเกือบทั้งหมดครั้งเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ กระบอกใดขนไปไม่ได้ก็ทำลายเสีย ครั้งเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกู้อิสรภาพแล้วสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี จึงได้มีการหล่อปืนใหญ่ขึ้นมาใช้ในกองทัพและต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี
แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้มีการหล่อปืนใหญ่อย่างจริงจังเพื่อต่อสู้กับอริราชศรัตรู จนภัยคุกคามเปลี่ยนจากประเทศเพื่อนบ้านเป็นจักรวรรดินิยมจากยุโรปในสมัยรัชกาลที่ ๓ บทบาทของสีหนาทปืนไฟหรือปืนใหญ่โบราณจึงลดบทบาทในการนำมาใช้กับทหารไทยมากว่า ๔๐๐ กว่าปี และได้นำไปเก็บรักษาไว้ภายในพระบรมมหาราชวังและวังหน้าในปี พ.ศ.๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ แห่งราชวงศ์จักรีได้นำปืนใหญ่โบราณที่เก็บรักษาในพระบรมมหาราชวังและวังหน้า ไปประดิษฐานที่สนามหน้าศาลาว่าการกลาโหมเพื่อจัดแสดงให้สาธารณชนได้ชมตามแบบชาติมหาอำนาจทางทิศตะวันตก และเป็นไปตามพระราชนิยมของพระองค์ท่าน ครั้งศึกษาวิชาทหารที่โรงเรียนนายร้อยเซนเฮิร์ท ประเทศอังกฤษ พิพิธภัณฑ์ปืนใหญ่กระทรวงกลาโหม จัดแสดงกลางแจ้งด้านหน้าและด้านข้างของกระทรวงกลาโหม โดยเรียงลำดับหมวดหมู่ตามอายุและยุคสมัยของปืน เริ่มจากปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ มีทั้งหมด 40 กระบอก แต่ละกระบอกมีป้ายชื่อและประวัติจารึกลงบนแผ่นทองเหลืองอธิบายความเป็นมา
เวลาทำการ: สำนักงาน: จันทร์-เสาร์ 8.30 -16.30 น.
เบอร์โทร 02 226 3814
8. ปากคลองตลาด
ในสมัยอยุธยาเป็นย่านชุมชน พบหลักฐานเป็นสิ่งปลูกสร้างทั้งวัดและป้อมปราการต่าง ๆ ที่ก่อสร้างขึ้นมาหลายแห่ง รอบ ๆ ชุมชนมีคูคลองและแม่น้ำหลายสายเข้ามาบรรจบกันจนมีลักษณะเป็นปากคลอง ต่อมาในสมัยธนบุรี เป็นจุดนัดพบของผู้คนที่สัญจรทางน้ำ มีการค้าขาย แลกเปลี่ยนสิ่งของ
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นตลาดค้าปลาขนาดใหญ่ที่ส่งตรง มาจากแม่น้ำท่าจีน (สมุทรสาคร) แล้วของที่ส่งผ่านมาทางแม่น้ำเจ้าพระยา มีบันทึกว่าใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดฯ ให้ขุดคลองหลายสายมาตั้งแต่เริ่มสถาปนากรุงเทพ รวมถึง “คลองตลาด” คลองเล็กข้างวัดบุรณศิริมาตยาราม อีกทั้งในย่านไม่ไกลกันนี้ มีคลองที่ขุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2315 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสิน เรียกว่า “คลองใน” ซึ่งทั้ง 2 แห่งนี้เป็นตลาดสดเน้นการค้าปลาเป็นหลักมาจน จนในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่โปรดฯ จะเรียกตลาดนี้ว่า “สะพานปลา” ในระยะหนึ่ง ก็เปลี่ยนจากตลาดค้าปลาไปยังตำบลวัวลำพอง หัวลำโพง แทน ตลาดปลานี้จึงแปรสภาพเป็นตลาดสด ค้าสินค้าเกษตร อย่างผัก ผลไม้และดอกไม้สด
เวลาทำการ: เปิดทุกวัน เวลา 00:00 – 23:59 .
9. ตลาดท่าเตียน
ท่าเตียน มีประวัติความเป็นมาอย่างยาวนานตั้งแต่ยุคเริ่มต้นสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ โดยอยู่บริเวณด้านหลังพระบรมมหาราชวัง และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม โดยที่ชื่อ “ท่าเตียน” มีที่มาต่าง ๆ กันไป บ้างก็ว่าเกิดจากในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 ที่แถบนี้เคยเกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ จนราบเรียบเหี้ยนเตียน หรือเชื่อว่ามาจาก “ฮาเตียน” เมืองท่าแห่งหนึ่งในตอนใต้ของประเทศเวียดนาม (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดเกียนซาง ในต้นกรุงรัตนโกสินทร์เป็นดินแดนของไทย ในชื่อ บันทายมาศ หรือ พุทธไธมาศ) เนื่องจากแถบนี้ในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวญวนอพยพหนีภัยสงครามจากเว้ ตั้งแต่ยุคกรุงธนบุรี ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และชาวญวนเหล่านี้ได้เรียกชื่อถิ่นฐานนี้ว่าฮาเตียน เนื่องจากมีภูมิทัศน์คล้ายกับฮาเตียนเพื่อคลายความคิดถึงถิ่นฐานตนเอง และได้เรียกเพี้ยนมาเป็นท่าเตียนในที่สุด แต่ทั้งนี้ท่าเตียนปรากฏมาตั้งแต่อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา โดยปรากฏหลักฐานเป็นนิราศของหม่อมพิมเสนเรียกว่า “บางจีน” สันนิษฐานว่าอาจเคยเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวจีนด้วยและยังมีตำนานเมืองที่โด่งดังมาก คือ เรื่องของยักษ์เฝ้าประตูวัดสองฟากต่อสู้กัน คือ ยักษ์วัดแจ้ง จากฝั่งธนบุรี ต่อสู้กับ ยักษ์วัดโพธิ์ แห่งฝั่งพระนคร เนื่องจากผิดใจกันเรื่องการขอยืมเงินกัน จนในที่สุดที่บริเวณนี้เหี้ยนเตียนราบเรียบไปหมด ซึ่งในบางตำนานก็มีการเสริมเติมแต่งเข้าไปอีกว่า ที่ยักษ์ทั้งสองตนนั้นหยุดสู้กันเพราะมีโยคีหรือฤๅษีมาห้าม บ้างก็ว่าเป็นยักษ์วัดพระแก้วเข้ามาห้าม
ปัจจุบัน ท่าเตียนเป็นทั้งตลาดและสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม มีร้านอาหารและร้านกาแฟเป็นจำนวนมาก ในส่วนของตลาด เป็นตลาดที่นับว่าใหญ่ที่สุดของกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นตลาดที่มีสินค้าหลากหลายประเภทขายทั้งสินค้าทางการเกษตรหรือข้าวของเครื่องใช้ เนื่องจากเป็นท่าจอดเรือที่มีชัยภูมิเหมาะสม โดยในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีชื่อเรียกว่า “ตลาดท้ายวัง” หรือ “ตลาดท้ายสนม” กินอาณาบริเวณตั้งแต่ถนนท้ายวังจนถึงตลาดท่าเตียนในปัจจุบัน เป็นตลาดที่บรรดานางในหรือนางสนมจะออกจากกำแพงพระบรมมหาราชวังมาจับจ่ายซื้อข้าวของต่าง ๆ โดยสินค้าที่นิยมมากที่สุด คือ ดอกไม้ ต่อมาได้รวมเป็นตลาดเดียวกับตลาดท่าเตียน จนกระทั่งถึงรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จึงเริ่มมีการสร้างอาคารขึ้นมาอย่างเป็นรูปร่าง โดยวางแนวเป็นรูปตัวยู ด้วยสถาปัตยกรรมแบบนีโอคลาสสิก และมีสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น และกลายมาเป็นแหล่งค้าส่งแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ เช่น วัสดุก่อสร้าง, เครื่องตัดหญ้า, อะไหล่รถยนต์, ผักและผลไม้, น้ำตาล, ลูกอมหรือท็อฟฟี่ รวมถึงอาหารทะเลแห้ง เป็นต้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 6 ท่าเตียนมีสถานะเป็นตำบลชื่อ “ตำบลท่าเตียน” ขึ้นอยู่กับอำเภอพระราชวัง (เขตพระนครในปัจจุบัน) ปัจจุบันอาคารพาณิชย์ตลอดจนบ้านเรือนต่าง ๆ ได้รับการบูรณะปรับปรุงโดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปี พ.ศ. 2556 ให้แลดูใหม่และสวยงามยิ่งขึ้น เช่นเดียวกับที่ท่าช้างที่อยู่ใกล้เคียง โดยทำการปรับปรุงทั้งสิ้น 55 คูหา
เวลาทำการ: 11.00 – 18.30 น.
10. ท่าเรือยอดพิมาน
ยอดพิมาน ริเวอร์วอล์ค” นั้นเคยเป็นอะไรมาก่อน แม้จะนั่งเรือผ่านบ่อยๆ ก็ไม่ได้สังเกต ฉันจึงได้หาข้อมูลและพอจะรู้ว่า ในจุดที่ตั้งของยอดพิมาน ริเวอร์วอล์คเมื่อก่อนนั้นเป็นโกดังเก็บสินค้าที่อยู่ใน “ย่านปากคลองตลาด” อันโด่งดัง เมื่อครั้งอดีตในช่วงรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นตลาดค้าปลาขนาดใหญ่ที่ส่งตรงมาจากแม่น้ำท่าจีน แต่ในปัจจุบันได้กลายมาเป็นตลาดขายดอกไม้ขนาดใหญ่ที่ติด 1 ใน 10 ของตลาดดอกไม้ทั่วโลก และยังเป็นตลาดกล้วยไม้ที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกอีกด้วย ซึ่งในย่านปากคลองตลาดนี้ เป็นที่ตั้งของ 4 ตลาดหลักได้แก่ ตลาดองค์การตลาด ตลาดพุทธยอดฟ้า ตลาดส่งเสริมเกษตรไทย และตลาดยอดพิมาน ซึ่งที่ตลาดยอดพิมานแห่งนี้ได้มีการปรับปรุงบริเวณโกดังเก็บสินค้าริมแม่น้ำ และสร้างเป็นยอดพิมาน ริเวอร์วอล์ค แต่ในส่วนของตลาดเดิมยังคงความเป็นเอกลักษณ์ไว้
สำหรับใครจะมาเที่ยวที่ยอดพิมาน ริเวอร์วอล์ค ฉันขอแนะนำว่าให้มาในเวลาช่วงเย็น โดยไปเดินเล่นที่ย่านสะพานพุทธฯ ฝั่งธนบุรี โดยเมื่อลงจากสะพานพุทธฯ จะมีทางเดินริมน้ำให้ได้เดินทอดน่องกินลมชมวิวยามเย็นริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฉันขอบอกบอกว่าบรรยากาศดีมากๆ เดินเรื่อยไปก็จะไปถึงย่านกุฎีจีน แวะชมโบสถ์ซางตาครูส, ศาลเจ้าเกียนอันเกง, วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร หลังจากนั้นค่อยนั่งเรือข้ามฟากกลับมายังยอดพิมาน ริเวอร์วอล์คและขึ้นไปชมบรรยากาศยามค่ำคืนที่ชั้น 2 เป็นอีกหนึ่งบรรยากาศที่สวยงามริมแม่น้ำเจ้าพระยายามราตรี และจากตรงนี้ก็ยังสามารถเดินออกมาชมบรรยากาศการค้าขายดอกไม้ด้านในตลาดยอดพิมานที่อยู่ด้านหลังใกล้ๆ กัน ซึ่งภายในยังคงบรรยากาศคึกคักของการค้าขายดอกไม้ให้ได้เห็น และยังเต็มไปด้วยร้านดอกไม้มากมายที่ขายดอกไม้นานาชนิด หลากสีสัน ส่งกลิ่นหอมไปทั่วบริเวณ
เวลาทำการ: 10.00 – 23.00 น.
โทรศัพท์: 02 623 6851